วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

ประโยชน์ที่พึงได้จากการเขียนพระพุทธศาสนาในรัฐธรรมนูญ

วันที่ 06 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10648ประโยชน์ที่พึงได้จากการเขียนพระพุทธศาสนาในรัฐธรรมนูญคอลัมน์ รื่นร่มรมเยศโดย เสฐียรพงษ์ วรรณปกต้องกราบขออภัยท่านผู้อ่าน ผมเสมือน "คนพูดติดอ่าง" พูดเรื่องเดียวกันซ้ำซาก ขนาดเขียนลงในหนังสือพิมพ์ที่คุยว่ามียอดขายระดับต้นๆ ยังไม่ค่อยมีคนอ่านสักเท่าไหร่ ประเด็นที่ยกขึ้นมาชี้แจง ก็ยังได้เห็นได้ยินคนส่วนใหญ่ถามอยู่นั้นเองคำถามที่ฮิตที่สุดก็คือ "ใส่แล้วไม่กลัวจะเกิดการแตกแยกเกี่ยวกับพระศาสนาหรือ เพราะศาสนาในเมืองไทยมิใช่มีแต่พุทธศาสนา ทำไมต้องพุทธอย่างเดียว"อีกคำถามหนึ่ง ก็คือ "พระสงฆ์ที่ออกมาร้องเรียนนั้น ทำไมไม่ไปจัดการพระที่ประพฤติผิด นอกรีตนอกรอยเสียก่อน มายุ่งเรื่องรัฐธรรมนูญทำไม ไม่ใช่กิจของสงฆ์"อีกคำถามหนึ่ง "เอาศาสนาไปยุ่งกับการเมืองทำไม ต่างฝ่ายต่างอยู่ก็ดีแล้ว รัฐธรรมนูญประเทศไหนๆ (ที่เขาเป็นประชาธิปไตย) ก็ไม่เอาศาสนามายุ่งกับการเมือง"อะไรประมาณนี้คำถามเหล่านี้ก็ยังคงถามกันต่อไป และคงตอบกันต่อไป คนถามไม่ควรมี "ธง" ในใจอยู่แล้วถาม ไม่ว่าใครจะตอบ หรืออธิบายอย่างไรๆ ถ้าไม่ตรงกับความคิดความเชื่อของตนก็ไม่รับฟัง คนตอบเองก็ไม่ควรคิดว่าคำตอบ หรือเหตุผลของตนนั้นถูกต้อง และก็ไม่ควรคาดหวังว่าเขาจะเชื่อตามที่ตนตอบก็รวมถึงข้อคิดเห็นของผมทางหน้าหนังสือพิมพ์นี้ด้วยแหละ ไม่จำต้องเชื่อพุทธวจนะใน "เกสปุตติยสูตร" หรืออีกชื่อหนึ่ง "กาลามสูตร" เป็นหลักตัดสินว่า ก่อนจะเชื่อหรือไม่ควรเชื่อ จะพึงทำอย่างไรดี ดังที่พระเดชพระคุณเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ ติงไว้นั้นแหละ เรื่องสำคัญอย่างนี้ ไม่ใช่เรื่องจะต้องพึ่งพา "ความรู้สึก" ไม่ใช่เรื่องที่จะเชื่อตามความรู้สึก ของคนที่มีสถานะทางสังคมสูง มี authority สูง หากเป็นเรื่องที่ต้องใช้ "ความรู้" ความเข้าใจมาตัดสินกันท่านติงว่า สังคมไทยเป็นสังคมที่เอาความรู้สึกมาวัดกัน แม้แต่เรื่องสำคัญๆ เช่น พระพุทธศาสนาควรเขียนว่าเป็นศาสนาประจำชาติไทยหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ ต้องอาศัยความรู้ ความรู้ประวัติศาสตร์ ของชาติ ของศาสนา รู้บทบาทของพระพุทธศาสนากับสังคมไทย รู้บทบาทและหน้าที่ของพระสงฆ์ต่อสังคมไทย และที่สำคัญรู้ภารกิจ หรือหน้าที่ที่รัฐจะพึงดูแลคุ้มครองพระพุทธศาสนาอย่างใดสรุปให้ชัดก็คือ ไม่พึงใช้ความรู้สึก ควรใช้ความรู้ความเข้าใจตัดสินผมพูดค้างไว้ในสัปดาห์ที่แล้วว่า จะจาระไนผลดีของการเขียนพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญต่อ (ไม่ใช่เขียนเพียงในคำปรารภว่า ศุภมัสดุ พระพุทธ ศาสนายุกาล..ฮิฮิ)ทีแรกว่าจะแจงเป็นข้อๆ ดังที่ทำมาในฉบับที่แล้ว เปลี่ยนใจมาพูดในแง่อธิบายตามวิธีการเขียนบทความแทนก็แล้วกัน เมื่ออ้างวาทะอัน "กินใจ" ของหลวงพ่อประยุทธ์ ปยุตฺโต แล้วก็ขออ้างต่อไปในกรณีศาสนาประจำชาติ จำต้องทำความเข้าใจเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนาคือ(1) หลักการของแต่ละศาสนาไม่เหมือนกัน(2) ประเพณีความสัมพันธ์ไม่เหมือนกันขอยกตัวอย่างความสัมพันธ์ในประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นรูปธรรมและชัดเจนกรณีศาสนาคริสต์ ทำไมฝรั่งต้องแยกศาสนาออกจากรัฐ เขามีความหลังอันยาวไกล ตั้งแต่ยุโรปสมัยกลาง อำนาจทั้งหมดอยู่ภายใต้ศาสนจักรคาทอลิก ซึ่งมีสันตะปาปาเป็นประมุข เมื่ออำนาจมีมากการคอร์รัปชั่นก็ตามมา นี่คือความเป็นจริงในทุกสังคม ความเสื่อมเกิดขึ้นในศาสนจักร เสื่อมถึงขนาดมีการขายใบไถ่บาปกันขึ้น จึงเกิดบาทหลวงเยอรมัน (มาร์ติน ลูเธอร์) คัดค้านไม่เห็นด้วย เมื่อมีคนนำคัดค้านอำนาจอันสิทธิขาดนี้ รัฐต่างๆ ที่เคยยินยอมก็หันมาสนับสนุนลูเธอร์ เพราะตนเองก็ต้องการความเป็นอิสระจากโป๊ป กระบวนการคัดค้านนี้จึงได้ชื่อว่า "Protestant"ในช่วงเวลาดังกล่าว ที่ประเทศอังกฤษ พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ซึ่งไม่เห็นด้วยกับศาสนจักร ด้วยจุดประสงค์ส่วนตัวคือต้องการเปลี่ยนพระมเหสี จึงแยกตัวจากศาสนจักร ถือโอกาสตั้ง Church of England ขึ้น สถาปนาพระองค์เองเป็นประมุขศาสนาสิ้นพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 พระนางแมรีซึ่งนับถือคาทอลิกเคร่งครัด ขึ้นครองราชย์ ก็กวาดล้างพวกที่ต่อต้านทั้งหมดเป็นการใหญ่ พวกนี้ถูกฆ่า บ้างถูกเผาทั้งเป็นจำนวนมาก จึงต้องหลบหนีออกต่างประเทศ กลุ่มหนึ่งหนีไปฮอนลอนด์ อีกกลุ่มหนึ่งลงเรือไปขึ้นที่"นิวอิงแลนด์" (ในปี ค.ศ.1620) พวกนี้มีปมในใจที่ถูกเบียดเบียนทางศาสนา จึงต้องหนีภัยทางศาสนามาหาอิสรภาพ (freedom) ซึ่งเป็นแกนสำคัญในการก่อตั้งประเทศอเมริกาดูภูมิหลังทางประวัติศาสตร์อย่างนี้ จึงพอมองเห็นใช่ไหมครับว่า ทำไมฝรั่ง (โดยเฉพาะอเมริกา) จึงรังเกียจที่จะให้ศาสนามาเกี่ยวข้องกับการปกครองประเทศจึงแยกรัฐออกจากศาสนา (Separation of Church and State) จึงมีกฎหมาย ห้ามสอนศาสนาในระบบโรงเรียน เมื่อไม่เอาศาสนา อันเป็นรากฐานของศีลธรรมจริยธรรมมาเป็นหลักในการพัฒนาประเทศ ก็ต้องคิดค้น "จริยธรรม" ขึ้นมาใหม่ อันเรียกว่า "จริยธรรมสากล"ซึ่งไม่เกี่ยวกับการหล่อหลอมพฤติกรรมของมนุษย์แต่อย่างใด เป็นเพียงทฤษฎีว่าด้วยความดี ความชั่ว มาตรฐานตัดสินดีชั่วพูดให้ชัดว่าเป็นแค่ทฤษฎีอย่างหนึ่งเท่านั้นเองสังคมที่ปฏิเสธศีลธรรมจริยธรรมทางศาสนา จึงไม่สามารถสร้างความดีงามขึ้นมาได้ จึงเต็มไปด้วยปัญหาสารพัดดังที่ทราบกัน แล้วเราก็ยังเป็นปลื้มชื่นชม และเอามาเป็นแบบอย่างทีนี้มาดูลักษณะความสัมพันธ์ของศาสนากับรัฐในแบบของพระพุทธศาสนาบ้าง มันเป็นแบบเดียวกับที่เกิดขึ้นในประเทศตะวันตกหรือเปล่าไม่ว่าใช้สมองซีกไหนไตร่ตรองก็ตอบได้ทันทีว่า ไม่เหมือนครับ เวลาพระบวชเข้ามา ท่านต้องสละบ้านเรือน สละอาชีพที่ทำอยู่ รวมถึงสละกิจการทางบ้านเมืองทุกอย่าง กฎหมายบ้านเมืองยังได้นำประเพณีนี้มาบัญญัติไว้ โดยเขียนว่า นักบวช นักพรตไม่มีสิทธิในการลงคะแนนเลือกตั้ง (ความคลุมเครือของการนิยามคำ มีผลกระทบถึงแม่ชีไป เพราะไปนิยามว่าแม่ชีคือนักบวชนักพรต ไม่มีสิทธิเลือกตั้งด้วย แล้วก็ไม่มีการแก้ไข สิทธิทางการเมืองของสตรีไม่ต่ำกว่าสองแสนคนถูกตัดสิทธิอย่างน่าเสียดาย)โดยโครงสร้างของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพระศาสนา พระสงฆ์ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองการปกครองโดยตรงอยู่แล้ว ท่านบวชมาศึกษา ปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติได้ผลมากน้อยตามความสามารถแล้ว ก็เผยแผ่พระธรรม สั่งสอนประชาชน นั้นคือหน้าที่หลักของพระสงฆ์ ดังที่ตรัสไว้ในมหาปรินิพพานสูตรว่า "พระสงฆ์จะต้องศึกษา-ปฏิบัติสัมผัสผล-เผยแผ่-แก้ปัญหา"ฝ่ายรัฐ (สมัยราชาธิปไตย) ก็มีหน้าที่ในการ (1) "ปกครองประเทศ" ให้เจริญรุ่งเรือง ร่มเย็นเป็นสุข โดยอาศัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการปกครองประเทศ (โดยเฉพาะทศพิธราชธรรม) (2) อุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนา รวมถึงช่วยศาสนจักรแก้ปัญหาใหญ่ๆ ที่เกิดขึ้นอันเกินความสามารถของพระสงฆ์จะจัดการได้เหตุการณ์พระสงฆ์ผู้ใหญ่ต้องปาราชิกกระทบกระเทือนสังคมยุคนั้น พระสงฆ์ไม่สามารถจัดการได้ ทางอาณาจักรโดยพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงโปรดให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ และหม่อมไกรสร ซึ่งพระองค์แรกเป็นผู้ดูแลกรมสังฆการีด้วย ช่วยชำระสะสางให้เรียบร้อยหรือย้อนไปสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช การพระศาสนาเสื่อมโทรมมาก ถึงขนาดพระสงฆ์ตั้งก๊กมีจุดมุ่งหมายทางการเมือง ก็ทรงยื่นมือเข้ามาช่วย ปราบก๊กเจ้าพระฝางลงแล้ว ยังส่งพระสงฆ์จากส่วนกลางไปฟื้นฟูพระศาสนา หรือย้อนขึ้นไปถึงสมัยอยุธยา สมัยพระนารายณ์มหาราช เกิดกรณีพระเพทราชากับพระเจ้าเสือ นำกองทัพล้อมวัง พระองค์ทรงเป็นห่วงข้าราชบริพารที่จงรักภักดีจะเป็นอันตราย จึงให้นิมนต์พระสงฆ์เข้ามาอุปสมบทแก่เหล่าอำมาตย์และข้าราชบริพารในพระราชวัง เมื่อบวชเป็นพระแล้ว ก็ตัดขาดจากทางบ้านเมืองไป ได้รับความคุ้มครอง อำนาจรัฐก็ไม่สามารถเอื้อมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพระพุทธศาสนา มิได้เหมือนประเทศใดๆ ถ้าจะเรียกว่าเป็น separation of Church and State ก็เป็นความสัมพันธ์แบบ positive Separation มากกว่า negative Separation คือไม่มีความขัดแย้งกันระหว่างพระศาสนากับรัฐ เนื่องจากต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ของตนสอดประสานสัมพันธ์กัน เพื่อความมั่นคงของรัฐ และความเจริญรุ่งเรืองของพระศาสนาความสัมพันธ์แบบนี้พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า "อัญโญญนิสสิตา" (รัฐและพระศาสนาพึงอาศัยกันและกันตามหน้าที่ของตน) ไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแทรกแซงอีกฝ่ายหนึ่งเพราะความเข้าใจลึกซึ้งอย่างนี้ พระมหากษัตริย์ในอดีตทุกพระองค์ จึงทรงประกาศพระปฐมบรมราชโองการก่อนขึ้นครองราชย์ เช่นรัชกาลที่ 1 ทรงประกาศว่าตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนาป้องกันขอบขัณฑสีมา รักษาประชาชนและมนตรีบรรทัดแรกตรัสถึงการอุปภัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนา อันเป็นหน้าที่หลักของพระมหากษัตริย์อย่างหนึ่ง (ที่คณะผู้ก่อการถ่ายโอนมาด้วยอำนาจปฏิวัติ แล้วแกล้งทำตกหล่นในรัฐธรรมนูญ)บรรทัดสองตรัสถึงหน้าที่หลักอีกประการหนึ่งคือ การปกครองประเทศชาติและประชาชน ใคร่กราบเรียนว่า ท่านที่กลัวว่าใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว จะทำให้พระสงฆ์ยุ่งกับการเมือง ศาสนาไม่ควรมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง เมื่อได้ทราบว่า ด้วยประเพณีความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและพระศาสนาของสังคมไทยตั้งแต่ต้น คงสบายใจได้ พระศาสนาและพระสงฆ์ไม่มีทางยุ่งเกี่ยวกับการเมือง (ในความหมายของท่าน) แน่นอน เพราะเป็นความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกัน ต่างคนต่างทำหน้าที่สอดประสานกัน เพื่อเป้าหมายคือความเจริญรุ่งเรืองแห่งชาติและพระศาสนา

ทางแห่งความชั่ว

วันที่ 06 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 17 ฉบับที่ 6002ทางแห่งความชั่วคอลัมน์ ธรรมะวันหยุดกิเลสภายในใจที่เป็นต้นกำเนิด หรือเหตุแห่งความชั่วร้ายทั้งปวง ที่เกิดแล้วได้รับการสนับสนุนให้พอกพูนมากยิ่งขึ้น เป็นทางแห่งความชั่ว มี 3 ประการ1.โลภะ ความอยากได้สิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตน ด้วยอาการอันไม่ชอบธรรม โลภะนี้หากปล่อยให้เกิดขึ้นแล้วจะมีบริวารตามมา เช่น เป็นคนมักมาก มักตระหนี่ถี่เหนียว ชอบหลอกลวง ฉ้อโกง ลักขโมย ปล้นทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม เป็นต้นความอยากที่เป็นความต้องการของร่างกาย เช่น ความอยากกินข้าวเพราะหิว อยากดื่มน้ำเพราะความกระหาย ความอยากได้เสื้อผ้าเครื่องนุ่งหุ่ม เพื่อป้องกันความหนาวร้อน หรืออยากได้สิ่งต่างๆ มาเพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตแล้วได้มาด้วยการประกอบอาชีพสุจริต เช่นนี้ไม่จัดเป็นโลภะ ความอยากในทางที่ดี เช่น ความอยากประสบความสำเร็จการศึกษา เป็นต้น ทางธรรมเรียกว่า ฉันทะ คือแรงจูงใจใฝ่สำเร็จ2.โทสะ คิดทำร้ายผู้อื่นอย่างไร้ความเมตตา หรือคิดจะทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ทำให้บาดเจ็บ อับอาย เดือดร้อน หรือเสียทรัพย์สินต่างๆ อันเนื่องมาจากความไม่พอใจ โกรธเกลียด หากปล่อยให้โทสะเกิดขึ้นจะมีบริวารตามมา เช่น เป็นคนมีอารมณ์ฉุนเฉียว โกรธง่าย ขัดเคืองใจ จองล้างจองผลาญ จองเวรกัน ทำร้ายกัน ฆ่ากัน คำพูดคำจาหยาบคาย ใส่ร้ายกันโทสะจัดเป็นกิเลสที่ร้ายแรงอย่างหนึ่งที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วมันจะทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในตัวของผู้นั้น นับตั้งแต่ทำลายระบบความคิด ทำลายสุขภาพกายและสุขภาพจิต บุคคลใดก็ตามถ้าปล่อยให้โทสะครอบงำใจบ่อยๆ ตนเองจะกลายเป็นบุคคลประเภทมองโลกในแง่ร้าย ชอบก่อกรรมทำอันตรายแก่ตนและคนในสังคม3.โมหะความหลงไม่รู้จริง โดยที่ไม่รู้สภาพความเป็นจริงว่าอะไรผิดอะไรถูก อะไรควร อะไรไม่ควร ความโง่เขลาเบาปัญญา เป็นอาการมืดมนในจิตใจ ไม่สามารถคิดอะไรตามความเป็นจริงได้ โมหะจึงเปรียบเหมือนกับความมืด ถ้าความมืดปกคลุมในที่ใด คนที่ทำอะไรอยู่ในความมืด ก็อาจทำผิดพลาดได้หลายอย่าง ตั้งแต่น้อยๆ จนถึงมากที่สุด คนที่ถูกโมหะครอบงำจิตใจมีอาการเช่นเดียวกัน อาจทำความผิดพลาดได้ทุกอย่าง นับตั้งแต่เข้าใจผิดกัน ทะเลาะวิวาทกัน ทำร้ายกันด้วยวิธีต่างๆ รวมทั้งการทำร้ายตัวเองหรือการฆ่าตัวตาย หากปล่อยให้โมหะเกิดขึ้นแล้วจะมีบริวารตามมา เช่น คิดฟุ้งซ่าน ว่ายากสอนยาก เห็นผิดเป็นชอบ เห็นชั่วเป็นดี เป็นต้นเหตุให้โลภะ และโทสะเกิดขึ้น สามารถทำร้าย ทำลายชีวิตตนเองพร้อมคนรอบข้างให้เสียหายได้