วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551

หึ่งซื้อเสียงเลือกนายกอำนาจเจริญ หวั่นได้เหลือง-แดง-กาบัตรรอบ3

วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11160 มติชนรายวัน
หึ่งซื้อเสียงเลือกนายกอำนาจเจริญ หวั่นได้เหลือง-แดง-กาบัตรรอบ3

นา ยโสนิ สุวรรณี อดีต ส.จ.อำนาจเจริญ เปิดเผยว่า ในวันที่ 28 กันยายน มีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ ครั่งที่ 2 ตามคำสั่งของศาลอุทรณ์ ภาค 3 ภายหลังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ใบเหลืองในการเลือกตั้งครั้งแรก เนื่องจากมีการซื้อเสียง ล่าสุด การเลือกตั้งครั้งนี้ พบว่า มีการแจกเงินซื้อเสียงอีกหัวละ 200 บาท โดยแจกอย่างเปิดเผย หากได้ใบเหลืองหรือใบแดงอีก เชื่อว่าประชาชนคงไม่ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งต่อไปอย่างแน่นอน จึงขอให้ กกต.จับผิดผู้ซื้อเสียงแล้วแห่ประจานให้เข็ดหลาบ

นายสมภพ สังข์สุวรรณ ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง (ผอ.กต.) เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ กล่าวว่า มีข่าวการซื้อเสียงหัวละ 200 บาท ซึ่ง กกต.ตั้งคณะตรวจสอบลงพื้นที่หาหลักฐานแล้ว หากมีหลักฐานชัดเจน ตนก็เสียใจด้วยที่อาจมีการเลือกตั้งใหม่ ครั้งที่ 3

"หากมีครั้งที่ 3 ประชาชนคงเซ็งแน่นอน จึงวอนผู้สมัครอย่าคิดซื้อเสียงอีกเลย จะทำให้ประชาชนเบื่อการเลือกตั้งเสียก่อน" (กรอบบ่าย)

วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2551

คิดเป็นทำเป็นตามแนวพุทธธรรม จาก มติชน

วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11152 มติชนรายวัน
คิดเป็นทำเป็นตามแนวพุทธธรรม 7 คิดแบบคุณโทษและทางออก

คอลัมน์ รื่นร่ม รมเยศ
โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก


วันนี้ขอพูดถึงวิธีคิดอีกแบบหนึ่ง เรียกว่า "คิดแบบคุณโทษและทางออก" เป็นวิธีคิดแก้ปัญหาได้ดีอย่างหนึ่ง เพราะในกระบวนการคิดเช่นนี้ บุคคลจะได้ฝึกเป็นคนมองอะไรกว้างรอบด้าน และเห็นทางออกอันเป็นแนวปฏิบัติชัดเจน ไม่ตันว่าอย่างนั้นเถอะ

การให้การศึกษาอบรมตั้งแต่เด็กก็สำคัญ ถ้าพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ไม่เปิดโอกาสหรือไม่แนะให้เด็กรู้คิด คิดหลายๆ ทางแล้ว โอกาสที่จะพัฒนาการคิดแบบคุณโทษและทางออกค่อนข้างจะยาก

สมัยยังเด็ก (ความจริงไม่เด็กแล้วล่ะ) เรียนวรรณคดีไทย ผู้รู้ท่านได้กำหนดให้เรียนสิ่งที่เรียกว่า "วรรณคดี" ครูบาอาจารย์ก็เอาหนังสือที่เขากำหนดมาให้เรียนนั้นมาสอนว่า หนังสือเรื่องนี้ดีอย่างไร เพราะอย่างไร ให้คติแง่คิดอย่างไร คนแต่งแต่งเก่งอย่างไร ล้วนแต่ดีๆ ทั้งนั้น เพราะว่าเป็นหนังสือ "วรรณคดี"

"วรรณคดี" ท่านให้คำจำกัดความว่า หนังสือที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดี เรียกว่าวรรณคดี ถ้าเป็นหนังสืออื่นที่ไม่ได้รับยกย่องตัดสินว่าแต่งดี ก็ไม่นับเป็นวรรณคดี ดูเหมือนจะเรียกรวมๆ ว่า "วรรณกรรม" อะไรทำนองนั้น

มีใครถาม หรือมีคนถาม แล้วมีใครตอบบ้างไหมว่า ที่ว่าแต่งดีนั้นใครเป็นคนกำหนด คำตอบก็คือ ผู้ทรงคุณวุฒิกลุ่มหนึ่ง (บางทีอาจจะเป็นคนเดียวด้วยซ้ำ) เห็นว่าหนังสือเล่มนั้นเล่มนี้แต่งดี ความเห็นของท่านกำหนดให้คนอื่นๆ เห็นตามตนและบังคับให้เรียน

ถามต่อไปว่า สิ่งที่ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่าดีนั้น คนอื่นมีสิทธิเห็นแย้งบ้างไหมว่า ยังไม่ดีหรือดีไม่ถึงขนาด นั่นสิครับ น่าสงสัย

ถามต่อว่าจะให้มองเห็นแต่สิ่งดีๆ เท่านั้นหรือ

มันน่าสงสัยว่าการ "ผูกขาด" ความคิดความอ่าน "ผูกขาด" การมองการตัดสินใจอย่างนี้มันดีหรือเปล่า ถ้าตอบตามหลักการของพระพุทธศาสนานั้น ไม่ดีแน่ เพราะมิใช่แนวทางพัฒนาความคิดอ่านหรือพัฒนาสติปัญญาที่ถูกต้อง

แต่สังคมไทยก็มักจะยึดวิธีการให้การศึกษาแก่เด็กๆ แบบนี้ ทำกันมาตั้งแต่พอรู้เดียงสากันเลยทีเดียว เข้าโรงเรียนประชาบาล ก็ให้อ่านนิทานอีสป มันก็สนุกดีดอก

แต่พอตอนจบก็จะบอกว่า "นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า" กำหนดให้รู้ตามนั้นอย่างเดียวไม่เปิดโอกาสให้เด็กคิดบ้างว่า มันสอนอย่างอื่นได้ไหม

ถามผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ท่านก็ว่าไม่ได้ดอก เด็กมันคิดไม่เป็น ถึงคิดออกมาก็ไม่เข้าท่า ให้ผู้ใหญ่คิดแทนเด็กน่ะดีแล้ว จะได้ไม่นอกลู่นอกทาง จริงหรือเปล่าครับ ที่ว่าเด็กน่ะคิดไม่เป็น สู้ผู้ใหญ่ไม่ได้ ถ้าสังเกตลูกหลานตัวเล็กๆ ของท่านดูจะรู้ว่าลูกหลานตัวน้อยๆ ของท่านนั้นมีวิธีคิดที่เฉียบคม มิใช่น้อย ถ้าได้รับการเอาใจใส่ประคับประคองส่งเสริมจากผู้ใหญ่ เด็กๆ เหล่านั้นจะโตมาพร้อมกับความเฉลียวฉลาดที่น่าทึ่งเป็นอย่างยิ่ง แต่น่าเสียดาย สังคมไทยได้สกัดกั้นทางแห่งสติปัญญาของเด็กเสียหมด

เด็กจะคิดอะไรนอกเหนือจากที่ผู้ใหญ่คิดก็ถูกตวาด ห้ามคิด ห้ามพูด "แหกคอก" ห้ามซักโน่นถามนี่ ในที่สุดเด็กมันก็เลยไม่คิด ไม่ซัก ไม่ถาม โตมาก็เลยเป็นผู้ใหญ่ที่ซื่อบื้อ คิดอะไรก็ไม่เป็น ดังเห็นๆ กันอยู่ในปัจจุบัน

ผมมีเรื่องเล่าสองเรื่อง เรื่องแรกสั้นๆ พ่อกับลูกขับรถผ่านไปยังหมู่บ้านนอกเมืองแห่งหนึ่ง เห็นชาวบ้านกำลังโค่นต้นไม้ต้นหนึ่งอยู่ ลูกชายถามพ่อว่า "เขาตัดต้นไม้ทำไมพ่อ" พ่อตอบว่าคงเอาไปทำเฟอร์นิเจอร์มั้งลูก

"ลูกว่าไม่น่าจะใช่" ลูกชายขัดคอ

"หรือไม่ก็เอาไปเลื่อยทำรั้ว ทำคอกหมูคอกม้าอะไรก็ได้" พ่อตอบ เสียงชักบ่งความรำคาญที่จะตอบ

"ไม่ใช่อีกนั่นแหละ" ลูกว่า

คราวนี้พ่อชักโมโหย้อนถามว่า "มึงรู้แล้วถามหาหอกอะไร เขาตัดไปทำไมวะ"

ลูกชายตอบเสียงดังฟังชัดว่า "ตัดให้ขาดสิพ่อ"

คำพูดของลูกชายทำให้พ่ออึ้ง เออ จริงสินะ เขาตัดไม้ทำไม ก็ต้องตัดให้มันขาด ส่วนตัดขาดแล้วจะเอาไปทำอะไรต่อนั้นมันอีกเรื่องหนึ่ง

นี้แหละครับ เป็นเครื่องชี้บ่งว่า เด็กๆ นั้นบางครั้งก็มีความคิดที่เฉียบคมอย่างยิ่ง จนผู้ใหญ่คิดไม่ถึง

จากเรื่องนี้ ถ้าเรารู้จักคิด เราก็นำเอามาคิดต่อ เอามาปรับใช้กับการดำเนินชีวิตได้ ปัญหาสารพัดในโลกเรานี้ที่มันแก้ไม่ค่อยตก แก้ไม่ได้ บางทียิ่งแก้ยิ่งยุ่งนั้น ส่วนหนึ่งมาจากการไม่รู้จักว่าจริงๆ แล้วมันคืออะไร เมื่อไม่รู้ว่ามันคืออะไรจริงๆ ก็แก้ไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านว่า ขั้นแรกก็ต้องรู้จักทุกข์ให้แน่ชัดเสียก่อนจึงจะแก้ทุกข์ได้ แปลไทยเป็นไทยก็คือ ต้องรู้จักปัญหาให้ชัด (รู้สภาพปัญหาและต้นตอของปัญหาด้วย) จึงจะแก้ปัญหาได้

เรื่องที่สองเคยเล่าไว้ในที่อื่นแล้ว เล่าอีกครั้งคงไม่ว่ากัน ขงจื๊อขับรถม้าผ่านหมู่บ้านแห่งหนึ่ง พบเด็กกำลังเล่นทรายอยู่หลายคน จึงร้องบอกให้หลีกรถ เด็กๆ ต่างวิ่งหนีด้วยความกลัว เหลือเด็กน้อยคนหนึ่งไม่หนีเหมือนเพื่อนๆ กลับยืนเอามือเท้าสะเอว จ้องขงจื๊อ นักปราชญ์เฒ่าตวาดว่า "เจ้าเด็กน้อย ทำไมยังไม่หลีกรถอีก" เด็กน้อยตอบว่า "พวกผมกำลังสร้างกำแพงเมือง ไม่เคยเห็นกำแพงเมืองที่ไหนมันหลีกรถได้"

ขงจื๊อนึกชมวาทะอันเฉียบคมของเด็กน้อย จึงลงรถมาคุยด้วย ชวนให้ไปอยู่ด้วยกัน จะพาปกครองบ้านเมืองให้ "ราบเป็นหน้ากลอง" (ความหมายก็คือ ปกครองโดยยุติธรรม ประชาชนจะได้มีความสงบสุขทั่วหน้า) เด็กน้อยแย้งว่า เป็นไปไม่ได้ ถ้าโลกมันราบเป็นหน้ากลองน้ำก็ท่วมโลก คนและสัตว์จะจมน้ำตายหมด ขงจื๊ออึ้ง ไม่นึกว่าเด็กน้อยตัวแค่นี้จะมีวาทะคารมคมคายขนาดนี้

เมื่อเห็นผู้เฒ่านิ่งเด็กน้อยจึงถามว่า "ในทะเลมีปลากี่ตัว บนฟ้ามีดาวกี่ดวง" "ถามอะไรไกลหูไกลตานัก หลานเอ๋ยถามใกล้ๆ หน่อยสิ" ผู้เฒ่าบอก พลันเด็กน้อยชี้หน้าท่านผู้เฒ่า ถามว่า "ถ้าอย่างนั้น ขนคิ้วท่านมีกี่เส้น" ครับ ใกล้หูใกล้ตาที่สุดแล้ว ตกลงผู้เฒ่าตอบไม่ได้ จึงถอดหมวกคำนับเด็กน้อย สั่งให้รถม้าหลีก "กำแพงเมือง" ของเด็กน้อยไป

ใครว่าเด็กๆ มันคิดอะไรไม่เป็น เด็กๆ ลูกหลานเรานี้แหละมี "แวว" ฉลาดมาแต่ต้นแล้ว หากแต่ไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควรจะเป็นเท่านั้น โตมาแล้ว "แวว" นั้นก็เลยฝ่อไปเลย เป็นผู้ใหญ่ที่ไม่รู้จักคิด หรือคิดไม่เป็นหลายต่อหลายคน กลายเป็นคน "สิ้นคิด" ไปก็มี

ตามปกติ คนเรามักคิดอะไรทางเดียว อย่างเก่งก็คิดแค่สองทางคือ ทางบวก กับทางลบ ใครคิดทางไหนก็ยึดอยู่แต่ทางนั้น ว่าตนเท่านั้นคิดถูก คนอื่นที่คิดไม่เหมือนตนผิด ตราบใดที่ไม่คิดเห็นแนวทางที่สาม ที่สี่ ที่ห้าแล้ว ไม่แคล้วต้องทะเลาะขัดแย้งกันอยู่ชั่วนิรันดร

ยกตัวอย่างเรื่องพื้นๆ ที่เห็นกันอยู่ชนบทห่างไกล เมื่อราชการตัดถนนผ่าน มีน้ำ มีไฟฟ้า การคมนาคมสะดวกสบาย มีสินค้าบริโภคใหม่ๆ แปลกๆ เข้ามาเสนอขายมากมาย ชีวิตของชาวชนบทได้เปลี่ยนแปลงจากเดิมไปมากมาย ถ้ามองในแง่บวกหรือด้านดีจะเห็นว่าหมู่บ้านชนบทแห่งนี้เจริญขึ้น พัฒนาขึ้น สิ่งที่ไม่เคยมีก็มี ถนนหนทางที่ทันสมัย มีน้ำประปา ไฟฟ้า มีตึกรามใหญ่ๆ มีโรงงานอุตสาหกรรม ชาวบ้านมีงานทำเพิ่มขึ้น เช่น ไปใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น

ถ้ามองในแง่ลบหรือด้านเสียก็จะเห็นว่า ถ้าคำว่า "เจริญ" หรือ "พัฒนา" หมายถึงการมีเครื่องอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้นเพียงอย่างเดียว ก็น่าที่จะเรียกว่าเจริญหรือพัฒนาจริง แต่ท่ามกลางการเข้ามาของวัตถุอำนวยความสะดวกเหล่านี้ ความ "ดีงาม" ที่เคยมีได้เลือนหายไป เช่น บรรยากาศที่สงบไม่อึกทึก พลุกพล่าน

-ไมตรีจิตมิตรภาพฉันเพื่อนบ้านที่ขอกันกินได้ หรือแลกของกันกินได้ โดยไม่ต้องจ่ายเงินตราซื้อขาย

-การมีของอำนวยความสะดวกน้อย แต่ไม่มีหนี้สินด้วยการไปกู้สหกรณ์ เพื่อซื้อวัตถุอำนวยความสะดวกมาแข่งขันกัน

-ความพอใจในสภาพความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย แทนความฟุ่มเฟือยหรูหรา ตามแบบอย่างชาวเมือง

-การเห็นคุณค่าวัฒนธรรมพื้นบ้าน ที่เป็นมรดกมาแต่ปางบรรพ์ แทนการนำเอาวัฒนธรรมสมัยใหม่เข้ามา แล้วดูหมิ่นวัฒนธรรมดั้งเดิมของตน สิ่งเหล่านี้ค่อยๆ หายไปพร้อมกับการเข้ามาของการพัฒนาสมัยใหม่

คนที่มองแต่แง่บวกก็จะเห็นแต่ความดีงามของการพัฒนาแบบใหม่ คนที่มองแต่แง่ลบก็จะเห็นแต่ความเลวร้ายของการพัฒนาแบบใหม่ แต่ถ้าพิจารณาผลดี ผลเสียทั้งสองด้านแล้วอาจจะได้ทางออกว่าเราควรจะทำตัวอย่างไรต่อเรื่องนี้ ทางออกที่ได้ เช่น

1) เป็นไปไม่ได้ที่จะปิดกั้นกระแสการพัฒนาทางวัตถุหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ สิ่งเหล่านี้สักวันหนึ่งก็จะไหลบ่าเข้าไปยังท้องที่ห่างไกล

2) จำเป็นต้องยอมรับให้มีการพัฒนาทางวัตถุ ยอมรับการไหลบ่าเข้ามาแห่งวัฒนธรรมที่แตกต่างจากวัฒนธรรมพื้นถิ่นดั้งเดิม

3) แต่ควรรับด้วยสติ ด้วยปัญญา ด้วยการรู้ทัน รู้จักเลือกรับเฉพาะสิ่งที่ดีไม่เกิดโทษแก่ตนและท้องถิ่นของตน หรือปรับให้เข้ากับพื้นฐานของตนโดยไม่เสียความเป็นตัวของตัวเอง

เป็นธรรม จาก มติชน

เป็นธรรม-เป็นสุข

คอลัมน์ แท็งก์ความคิด

โดย นฤตย์ เสกธีระ



ไม่รู้เป็นยังไงครับ ชีวิตช่วงนี้โคจรไม่พ้น "เอสซีจี"

คราวที่แล้วไปดูงาน "ฝายชะลอน้ำ" ที่ปูนซิเมนต์ไทย ลำปาง 

อีกสองสัปดาห์ต่อมาเจอตัวจริงเสียงจริง คุณกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่เครือเอสซีจี

คุณกานต์มาให้ความรู้เรื่อง "ธรรมาภิบาลภายในองค์กร" เพราะเครือซิเมนต์ไทย ซึ่งเป็นองค์กรที่คุณกานต์เป็นลูกหม้อทำงานมาตั้งแต่เรียนจบ

เป็นองค์กรที่ได้ชื่อว่ามี "ธรรมาภิบาล"

ระหว่างการบรรยายมีคนสอบถามด้วยข้อข้องใจหลายเรื่อง แต่สิ่งที่ฟังแล้วน่าจดจำก็คือหัวใจในการบริหารงานของเอสซีจี

คุณกานต์บอกว่า ตั้งแต่ทำงานที่เครือซิเมนต์ไทยมาจนเป็นเอสซีจีในขณะนี้ 

ความแข็งแกร่งของการบริหารงานที่นั่นคือ "ความเป็นธรรม" 

"ความเป็นธรรม" นี่เองที่ทำให้ "ลูกน้อง" ไว้ใจ "เจ้านาย" และ "ลูกจ้าง" ไว้ใจบริษัท

และ "ความเป็นธรรม" อีกนั่นแหละที่เป็นหนึ่งใน 3 หลักแห่งธรรมาภิบาล

เป็นธรรม-โปร่งใส-มีความรับผิดชอบ

เห็นไหมครับว่า ความเป็นธรรมนั้นมีความสำคัญ

และมีความสัมพันธ์กับระดับความสุขของคนด้วย

ยกตัวอย่างที่เมืองจีนกันดีกว่า

เดิมทีคนจีนเขามีระบบคูปองอาหาร 

ทุกคนต้องทำงาน ทำงานเสร็จแล้วก็เอาคูปองที่ได้รับแจกตามสัดส่วนไปกินอาหาร

ไม่แบ่งแยกชั้นวรรณะ

สังคมจีนตอนนั้นลำบากลำบนมากครับ

แต่ทุกคนได้อยู่ได้กินเหมือนๆ กัน และชินชาต่อความยากลำบาก

ต่อมาพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้พัฒนาประเทศ 

บางเมืองเปิดประเทศ นำเอาวิธีดำเนินชีวิตแบบตะวันตกมาใช้

แทนที่จะใช้คูปองแลกข้าว เปลี่ยนมาใช้เงินซื้อหาของกินตามระบบทุนนิยม

ดูเหมือนดีใช่ไหมครับ

แต่เขาพบว่าการนำระบบทุนนิยมมาใช้ ทำให้เกิดชนชั้นขึ้นในสังคม

คนจีนเริ่มกินอาหารไม่เหมือนกัน

คนมีรายได้น้อยแต่ทำงานหนัก เริ่มรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม

เมื่อรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม แม้ความสุขทางกายจะดีขึ้น อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะสูงปรี๊ด

แต่ความสุขทางใจกลับลดน้อยถอยลง 

นี่คืออิทธิพลของ "ความเป็นธรรม"

มิน่าล่ะคุณกานต์ บิ๊กบอสแห่งเอสซีจี จึงบอกว่า "ความเป็นธรรม" คือหัวใจของการบริหารที่นั่น

แล้วความเป็นธรรมคืออะไร?

คำตอบมีอยู่ใน "มงคลที่ 16" เรื่อง "ประพฤติธรรม" ครับ

ในมงคลที่ 16 พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้ประพฤติธรรม 

หมายถึงปฏิบัติในสิ่งดีทั้งกาย วาจา และใจ

ต่อมามีผู้ขยายความเรื่องความประพฤติว่า นอกจากจะประพฤติธรรมแล้วต้อง "ประพฤติเป็นธรรม" ด้วย

ประพฤติเป็นธรรม คือ การกระทำที่ถูกต้อง ชอบด้วยเหตุผล และไม่มีอคติ รัก ชัง หลง กลัว

ตีความตามประสาซื่อ "การกระทำที่ถูกต้อง" คือ กระทำตามข้อตกลงของสังคมส่วนใหญ่

หรือการปฏิบัติตามครรลองแห่งขนบ ธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม กฎหมาย หรืออื่นๆ ที่เป็นข้อตกลง

ชอบด้วยเหตุผล คือ มีเหตุที่จะต้องกระทำสิ่งนี้ 

เช่น ชมเชยเพราะเขาทำดี หรือตักเตือนเพราะเขาบกพร่อง

ส่วน "ไร้อคติ" นั้น หมายถึง การกระทำต้องเท่าเทียมกัน

เมื่อคนเราไม่มีความเหลื่อมล้ำ ทุกอย่างดำเนินไปตามข้อตกลง

อะไรควรได้ก็ได้ อะไรควรเสียก็ต้องเสีย

ที่สุดความสุขสงบก็เกิดขึ้น

มาถึงตรงจุดนี้ พอจะเห็นแล้วยังครับว่า สังคมไทยทุกวันนี้มันทุกข์ร้อนกันเพราะอะไร

เพราะการกระทำที่ไม่ทำตามข้อตกลง 

เพราะการกระทำที่ไม่มีเหตุผล 

และเพราะการกระทำที่มีอคติ

ทำให้เกิดความเลื่อมล้ำ เอารัดเอาเปรียบ

เกิดเป็นความไม่เป็นธรรมขึ้น 

เห็นไหมครับว่า ความไม่เป็นธรรมไม่ได้เกิดแต่เฉพาะผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้ปกครองเท่านั้น

ความไม่เป็นธรรมสามารถเกิดขึ้นได้ทุกระดับและทุกสถานที่

ความไม่เป็นธรรมสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกครอบครัว ทุกชุมชน อำเภอ จังหวัด และประเทศ

ความไม่เป็นธรรมสามารถเกิดขึ้นได้ทุกกาลเวลา

ความไม่เป็นธรรมสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกชนชั้น

เพียงแค่คนหนึ่งไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง กระทำการที่ไร้เหตุผล และมีอคติ

ผู้ที่อยู่รอบข้างคนคนนั้น จะเกิดความรู้สึกว่าไม่เป็นธรรมขึ้นมา 

ใครที่มีความรู้สึกอย่างนี้ก็เป็นทุกข์ล่ะครับ

พอเป็นทุกข์ก็ต้องดิ้นรนให้หลุดพ้น 

อาการดิ้นรนต่อสู้ความไม่เป็นธรรมนี่แหละครับที่ทำให้ความทุกข์ขยายไปเรื่อยๆ

ขยายจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง 

ขยายจากหนึ่งคนไปสู่หลายคน

อย่างม็อบที่เกิดขึ้นและเรียกร้องกันอยู่ทั่วโลกนี่ก็เหมือนกัน 

ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากเรื่อง "เป็นธรรม-ไม่เป็นธรรม" ทั้งนั้น

ดังนั้น หากใครอยากอยู่เย็นเป็นสุข

กลับมาสำรวจตัวเองเสียหน่อยว่า ทำตามข้อตกลง ทำอย่างมีเหตุมีผล และทำโดยไร้อคติ กันหรือเปล่า

ถ้ากระทำอยู่ก็เข้าข่าย "เป็นธรรม"

ถ้าบิดเบี้ยวก็เข้าข่าย "ไม่เป็นธรรม"

ใคร องค์กรไหน ประเทศใด อยากมีสุขก็ต้อง "ประพฤติเป็นธรรม" 

แต่หากใคร องค์กรไหน ประเทศใด บิดเบี้ยว ผิดเพี้ยนจากความเป็นธรรม

ก็เท่ากับลบ "ความสุข" ออกไปจากชีวิตอย่างน่าเสียดาย

สวัสดี

วงจรอุบาทว์ จาก มติชน

วงจรอุบาทว์ที่แท้จริง

คอลัมน์ วัยทวีนส์

โดย เอกลักษณ์ ยิ้มวิไล




"จริงอยู่ครับที่สังคมการเมืองไทยนั้นได้มีการปรับรูปโฉม และปรับเปลี่ยนมาโดยตลอด แต่แก่นแท้ของระบบการเมืองนั้นยังคงหนีไม่พ้นประเด็นเน่าๆ ซึ่งก็คือเรื่องของการยึดครองอำนาจ และหากินกับเงินทองของประชาชน" 

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการยึดอำนาจโดยทหารในอดีต หรือการออกมาเรียกร้องสิทธิของประชาชนด้วยกลุ่มนักศึกษา และกลุ่มคนชนชั้นกลางที่ได้อำนาจคืนมาจากทหารในปี พ.ศ.2516 

จนกระทั่งเกือบ 8-9 ปีที่ผ่านมานั้นรูปแบบการเมืองได้มีการพลิกผันด้วยการมีกลุ่มนายทุนเข้ามาบริหารประเทศชาติ เกิดการก่อตั้งพรรคไทยรักไทยที่ได้รับชัยชนะอย่างล้นหลามในปี พ.ศ.2543 จนเป็นที่มาของแง่คิดระบอบการปกครองเชิง "ธนาธิปไตย" คือการที่กลุ่มนายทุนเข้ามาบริหารบ้านเมือง บ้างก็หากินจากความเดือดร้อนของผู้คนด้วยการแสวงหาสิทธิพิเศษและโครงการต่างๆ จากภาครัฐ โดยนำนโยบายประชานิยมมาเป็นฐานคะแนนเสียงอีกทีหนึ่ง ทำให้สังคมไทยเกิดการแบ่งแยกออกเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มรากหญ้า และกลุ่มชนชั้นกลาง 

นั่นคือจุดเริ่มต้นของการแบ่งแยกระหว่างคนไทยด้วยกัน จนทำให้เกิดปัญหาบานปลายมาถึงวันนี้ 

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของการเมืองไทยตลอดระยะเวลา 40-50 ปีที่ผ่านมา ประเด็นด้าน "ประชาธิปไตย" กลับกลายเป็นพื้นฐานแห่งการขัดแย้งทางสังคมมาโดยตลอด 

"ความขัดแย้งนี้สามารถอธิบายในเชิงหลักการได้ว่า ประชาธิปไตยที่แท้จริงแล้วนั้น คือความขัดแย้งทางความคิด ซึ่งผู้คนสามารถแสดงความคิดเห็น มีเสรีภาพในการพูดและคิด โต้วาทีเพื่อสังคมที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น" 

สิ่งนี้ถือว่าเป็นความคิดเชิงการเมือง เชิงอุดมการณ์ที่ยึดแนวคิดเสรี และเน้นเสียงส่วนใหญ่เป็นหลัก แต่ปัญหาอยู่ที่ "วัฒนธรรมการเมืองไทย" ทั้งทางภาครัฐและภาคประชาชน กล่าวคือนำความขัดแย้งทางความคิดไปใช้ในทางที่ผิด 

ผมขอเรียนตามตรงเลยครับว่า ในมุมมองของคนรุ่นใหม่แล้วนั้น 

""การเมืองที่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้คนในสังคมไม่ใช่การเมืองที่แท้จริง" แต่เป็นการเมืองที่นำความขัดแย้งทางความคิดไปสู่ความรุนแรงด้วยการยั่วยุ เพื่อผลประโยชน์ของคนบางกลุ่มที่อ้างว่าทำเพื่อประชาชน เพื่อประชาธิปไตย" 

โดยสร้างความศรัทธาและความเชื่อมั่นจากภาพลักษณ์ และอุดมการณ์ที่ดูเหมือนจะดี แต่สุดท้ายกลับนำความศรัทธาของผู้คนมาเป็นเกราะกำบัง มาเป็นอาวุธทำลายอีกฝ่ายหนึ่ง ทำให้สังคมไทยในวันนี้เกิดความรุนแรงทางความคิด และทางปฏิบัติ และสุดท้ายกลายเป็นสังคมที่แตกอย่างเป็นเสี่ยงๆ ในวันนี้ 

"ประชาธิปไตยไม่ใช่การแบ่งพรรคแบ่งพวก ตีกันจนบาดเจ็บล้มตายไปตามๆ กัน ทั้งๆ ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน"

พวกเราได้แต่คาดหวังไว้ว่าการเมืองในอนาคตจะสดใสมากกว่าเดิม ถึงแม้ว่าแก่นแท้ยังหนีไม่พ้นเรื่องของผลประโยชน์และการฉ้อราษฎร์บังหลวง 

แต่ปัญหาที่แท้จริงนั้นกลับกลายเป็น ทั้งๆ ที่การเมืองไทยเป็นเช่นนี้ แต่ "ผู้คนกลับรับได้" 

เราก็ต้องกลับมาถามตนเองว่ารับได้เพราะอะไร ถึงแม้ว่าจะรู้อยู่แก่ใจว่าพวกนี้เป็นพวกหากินบนกระดูกสันหลังของชาติ พวกเรารู้ว่าเขากินกันมากน้อยขนาดไหน แต่กลับปล่อยวาง 

"ปัญหาอยู่ที่ความคิดและความเข้าใจของพวกเราชาวไทยที่ยังไม่พัฒนามิติทางความคิดด้านการเมืองและการปกครอง" 

การเมืองไทยก็เหมือนกับคนที่อยู่ในห้องไอซียู รัฐธรรมนูญก็ไม่ต่างอะไรไปจากเครื่องช่วยหายใจราคาถูก ใช้แป๊บเดียวก็พัง จนหลายฝ่ายพูดว่า "วงจรอุบาทว์" ย่อมไม่มีวันสิ้นสุด และมักจะโทษนักการเมือง 

"แต่วงจรอุบาทว์นั้นเริ่มต้นที่พวกเรานั่นแหละครับ ตราบใดที่เรายังไม่เข้าใจว่าวงจรอุบาทว์นั้นคืออะไร ประชาธิปไตยย่อมไม่มีวันเต็มใบ" 

"วงจรอุบาทว์ภาคประชาชน" ก็คือช่องโหว่ทางความคิด ความเข้าใจ การรู้จักโครงสร้างทางการเมืองและการปกครอง รวมถึงการเรียกร้องสิทธิภาคประชาชน ซึ่งมีคนจำนวนน้อยที่เข้าใจสิ่งเหล่านี้ 

ใช่แล้วครับ ผมกำลังพูดถึงเรื่อง ""การศึกษาด้านการเมืองการปกครองที่เน้นสิทธิของประชาชน"" ที่พวกเราต้องรณรงค์ส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น 

ในวันนี้ผู้คนแบ่งพรรคแบ่งพวก ไม่กล้าพูดเรื่องการเมือง ไม่กล้าหยิบยกประเด็น เพราะกลัวจะทะเลาะกัน ขนาดเพื่อนรักยังทะเลาะ ครอบครัวยังแบ่งแยกขัดแย้งกันเอง เพราะเกิดจาก "ความศรัทธา" ในตัวนักการเมืองแบบผิดๆ 

"สิ่งที่ควรพัฒนาคือความคิด คิดให้ทันการเมืองเพื่อให้ทันเล่ห์นักการเมือง จึงเป็นรากฐานของสังคมประชาธิปไตยที่ถ่องแท้" 

คนรุ่นใหม่ต้องรู้จริง คิดให้ทัน เมื่อวันนั้นมาถึงประชาชนคงไม่ต้องเกรงใจ และคาดหวังนักการเมืองถึงเพียงนี้ เพราะสุดท้ายอำนาจอธิปไตยอยู่ในมือของท่านเอง 

"ประชาธิปไตยไม่ใช่อำนาจของ ส.ส.หรือฝ่ายบริหาร ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่เสียงโห่ร้องของคุณ แต่เป็นความคิดและความเข้าใจของคุณมากกว่าครับ"

วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2551

"If I Never Knew You" Song from Disney"Pocahontas"

If I Never Knew You

If I never knew you
If i never felt this love
I would have no inkling of
How precious life can be

And if I never held you
I would never have a clue
How at last I'd find in you
The missing part of me.

In this world so full of fear
Full of rage and lies
I can see the truth so clear
In your eyes
So dry your eyes

And I'm so grateful to you
I'd hve lived my whole life through
Lost forever
If I never knew you

If I never knew you
I'd be safe but half as real
Never knowing I could feel
A love so strong and true

I'm so grateful to you
I'd have lived my whole life through
Lost forever
If I never knew you

I thought our love would be so beautiful
Somehow we'd make the whole world bright
I never knew that fear and hate could be so strong
all they'd leave us were these wispers in the night
But still my heart is saying we were right

Oh if I never knew you
There's no moment I regret
If i never felt this love
Since the moment that we met
I would have no inkling of
If our time has gone too fast
How precious life can be...
I've lived at last...

I thought our love would be so beautiful
Somehow we'd make the whole world bright
I thought our love wuold be so beautiful
We'd turn the darkness into light
And still my heart is saying we were right
we were right

And if I never knew you
If I never knew you
I'd have lived my whole life through
Empty as the sky
Never knowing why
Lost forever
If I never knew you 

วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551

ย่อยข่าวท้องถิ่นมติชน 15กย51 มติชน

นาย ปัญญา คลังกลาง รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (รอง ผอ.สพท.) อำนาจเจริญ ให้สัมภาษณ์ว่า ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา มีฝนตกติดต่อกัน ส่งผลให้เด็กนักเรียนเจ็บป่วยเข้ารักษาตัวตามโรงพยาบาลต่างๆ ในเขต จ.อำนาจเจริญ เฉลี่ยถึงวันละ 300-400 ราย เรียกประชุมผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอำนาจเจริญ จำนวน 290 โรงเรียน ให้ดูแลเอาใจใส่เด็กๆ นักเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2551

ดูโฟลเดอร์แบบออนไลน์ของฉัน

sompobe อนุญาตให้คุณใช้โฟลเดอร์แบบออนไลน์นี้ร่วมกันได้ใน Windows Live SkyDrive
 
ดูโฟลเดอร์
 
sompobe_share
ดูไฟล์ในโฟลเดอร์แบบออนไลน์ "sompobe_share" ของฉันใน Windows Live SkyDrive

Windows Live SkyDrive คืออะไร
โฟลเดอร์ใน Windows Live SkyDrive ทำงานเหมือนกับโฟลเดอร์ในคอมพิวเตอร์ของคุณ แต่โฟลเดอร์เหล่านั้นถูกจัดเก็บแบบออนไลน์เพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ อีกทั้ง ฉันยังสามารถใช้โฟลเดอร์ (ดังเช่นโฟลเดอร์นี้) ร่วมกับบุคคลที่ฉันเลือก (ในกรณีนี้หมายถึงคุณ!)
สร้าง Windows Live SkyDrive ของคุณเองทันที ฟรี!
มีปัญหาในการใช้งานลิงก์ใช่หรือไม่ ลองคัดลอกและวางลิงก์นี้ลงในเบราว์เซอร์ของคุณ:
http://cid-a7127243945c2f85.skydrive.live.com/accept.aspx/sompobe|_share?owner=sompobe%2540msn.com&invitee=sompope2007.sompope%2540blogger.com&fid=A7127243945C2F85%2521197&token=93tyRJIMZAX0gW84A4IQEj89J0LsNPE%2521yy1qhII%252awVzHamOWfHtsrXOJah9c%2521t9uri

วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2551

คุณธรรม ความชอบธรรมในการปกครอง จากมติชน 05 กย.51

คุณธรรม ความชอบธรรมในการปกครอง และอำนาจอธิปไตยของประชาชนโดย ทินพันธุ์ นาคะตะ
ประชาธิปไตย เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน เพราะมีหลักการ วิธีการ และวัตถุประสงค์ในการปกครองที่ผูกพันไว้กับประชาชนส่วนใหญ่เสมอองค์ประกอบทั้งสามนี้จะขาดอย่างหนึ่งอย่างใดไปไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกระทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของการได้ชื่อว่า ระบอบการปกครองที่ดี ที่เราแสวงหากันมากว่าสองพันปีประการแรก การปกครองแบบนี้ถือหลักการว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ผู้ใช้อำนาจออกกฎหมายผ่านสภานิติบัญญัติ ใช้อำนาจบริหารผ่านคณะรัฐมนตรี และใช้อำนาจตุลาการผ่านทางศาล ทั้งนี้ เพราะเรายึดมั่นในเสรีภาพ ความเสมอภาค และความสำคัญของบุคคล เป็นที่ตั้งประการที่สอง เป็นเรื่องของวิธีการ ที่มีข้อกำหนดต่างๆ ให้เกิดการใช้อำนาจอธิปไตยโดยประชาชนขึ้นมา เช่น มีรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งโดยเสรี กติกาในการปกครองที่ถือเสียงข้างมากในการตัดสิน คุ้มครองสิทธิของเสียงข้างน้อย รวมทั้งมีพรรคฝ่ายค้าน เป็นต้น ในกรณีนี้รัฐธรรมนูญกับการเลือกตั้งจึงเป็นเพียงเงื่อนไขที่จำเป็น แต่ไม่เป็นเงื่อนไขที่เพียงพอของประชาธิปไตย เพราะเผด็จการคอมมิวนิสต์ก็มีสองอย่างนี้ประเทศเรามักคิดกันว่าการมีสองอย่างดังกล่าวก็เป็นประชาธิปไตยขึ้นมาแล้ว แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ เพราะประชาธิปไตยจะต้องเป็นมากกว่ากลไกทางการเมือง หากต้องครอบคลุมไปถึงประชาธิปไตยของสังคมหรือในวิถีชีวิต ที่ก่อให้เกิดความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ อย่างในประเทศแถบแองโกลอเมริกันหรือแถบสแกนดิเนเวีย ซึ่งต้องอาศัยการพัฒนาของตัวแปรประมาณ 20 ตัวด้วยกันประการที่สาม จะต้องยึดมั่นในผลประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งสำคัญที่สุด มากกว่าหลักการและวิธีการข้างต้น หากไม่ยึดมั่นในผลประโยชน์ส่วนรวมแล้วก็ไม่รู้ว่าจะมีการปกครองเพื่ออะไร เราแสวงหาระบอบการปกครองที่ดีเพื่อส่วนรวมมาแล้วกว่าสองพันปี ผู้มีอำนาจจึงต้องเสียสละ เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมในทุกกิจกรรม ทุกนาทีจึงจะได้ชื่อว่ามีคุณธรรมในการปกครองในทุกระบบการเมืองจะมีการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการปกครอง แต่การยึดถือกฎหมายอย่างเดียวย่อมไม่อาจทำให้ผู้ปกครองอยู่ในอำนาจต่อไปได้ ถ้าขาดความชอบธรรมในการปกครองขึ้นมาความชอบธรรมในการปกครองเป็นเรื่องของความเชื่อ เกี่ยวกับข้ออ้างในสิทธิของผู้มีอำนาจ และการยอมรับในข้ออ้างนั้นของฝ่ายรับการปกครอง เมื่อใดก็ตามที่ฝ่ายหลังไม่ยอมรับ ผู้มีอำนาจจะขาดความชอบธรรมในการปกครองทันที และอยู่ในอำนาจต่อไปไม่ได้ถ้าประชาชนเชื่อว่า นโยบาย การตัดสินใจ การกระทำของรัฐบาลไม่ถูกต้อง รัฐบาลก็อยู่ไม่ได้ข้อสังเกตก็คือ สังคมของเรา ผู้คนมักเข้าข้างตัวเอง เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว เช่น มีการพูดกันว่าองค์กรอิสระต่างๆ ตั้งขึ้นมาโดยไม่ชอบธรรม เพราะมาจาก คมช. โดยไม่พูดว่าตนเองได้เป็นรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาก็ไม่มีความชอบธรรมเช่นเดียวกัน เพราะมาจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 จาก คมช.ด้วยอนึ่ง ในสังคมประชาธิปไตยนั้น นอกจากจะมีสถาบันทางการเมืองที่เป็นทางการอย่างสภานิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ และองค์กรอิสระต่างๆ แล้ว ก็ยังมีสถาบันทางการเมืองที่ไม่เป็นทางการอย่างพรรคการเมือง องค์กรพัฒนาเอกชน การเมืองภาคประชาชน รวมทั้งสื่อมวลชน ซึ่งมีบทบาทสำคัญมากๆ ในการช่วยพัฒนาประชาธิปไตยด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจสอบควบคุมรัฐบาลที่สำคัญก็คือ ประชาธิปไตย ต่างสัญญาประชาคม ของ จัง จ๊าค รุสโซ ที่เป็นต้นแบบประชาธิปไตยของสังคมสมัยใหม่นั้น ยึดถือหลักอำนาจอธิปไตยของประชาชนโดยเคร่งครัด เขากล่าวว่า อำนาจดังกล่าวเป็นอำนาจสูงสุด เป็นขององค์อธิปัตย์ คือประชาชน เป็นอำนาจเด็ดขาด ละเมิดมิได้ สละให้ใครไม่ได้ ทำลายไม่ได้ จำกัดไม่ได้ มอบให้ใครไม่ได้ เพราะเขาถือหลักประชาธิปไตยโดยตรง (direct democracy) ประชาชนใช้อำนาจนั้นโดยตรง ไม่มีผู้แทน เขากล่าวว่า อำนาจนิติบัญญัติเป็นอำนาจสูงสุด เป็นของประชาชนโดยตรง เหนือกว่าฝ่ายบริหาร ซึ่งเป็นเพียงผู้รับมอบอำนาจส่วนฝ่ายตุลาการเป็นหน้าที่หนึ่งของฝ่ายบริหาร ฝ่ายบริหารถูกยกเลิกได้ตามความพอใจของประชาชน เมื่อประชาชนมาประชุมกันเป็นองค์อธิปัตย์ อำนาจของฝ่ายบริหารต้องยุติลง กฎหมายที่ประชาชนไม่รับรองถือเป็นโมฆะ"เมื่อใดประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยตัวจริงมาปรากฏตัว อำนาจฝ่ายบริหารผู้เป็นฝ่ายได้รับมอบอำนาจมาจะต้องยุติลง และสัญญาประชาคมนั้นย่อมถูกยกเลิกและเปลี่ยนแปลงได้เสมอ"

วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2551

บาป 7 ประการ จากมติชน

บาป 7 ประการ
โดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์
มี ลูกศิษย์คนหนึ่งมาปรึกษาปัญหาหัวใจที่ได้ฟังแล้วก็ขำ แต่สังเกตจากสีหน้าท่าทางแล้วก็มั่นใจว่าเป็นเรื่องที่กังวลและหนักอกเอาการ อยู่ทีเดียว คือลูกศิษย์เขามาปรึกษาว่าเขาตั้งใจจะเปลี่ยนศาสนาจากที่นับถือศาสนาพุทธ อยู่ทั้งครอบครัวเขาจะไปเข้ารีตเพื่อนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เนื่องจากเขาคิดว่าเขาได้ทำบาปทำกรรมมาไม่น้อยเขากลัวจะตกนรกเนื่องจากทาง ศาสนาพุทธนั้นไม่มีการล้างบาปหรือให้อภัยจากการทำบาปแบบว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" ซึ่งเขาได้รับทราบมาว่าทางศาสนาคริสต์โรมันคาทอลิกที่คนไทยเรียกว่าคริสตัง นั้นมีพระมารับฟังการสารภาพบาปแล้วก็สามารถล้างบาปให้ได้
แต่ปัญหา ของเขาคือทางครอบครัวต่อต้านความคิดนี้อย่างรุนแรงทีเดียวทั้งๆ ที่ทั้งพ่อแม่พี่น้องของเขาเองก็ไม่ค่อยได้ไปวัดเท่าไรเลยนอกจากไปงานเผาศพ สวดศพประเดี๋ยวประด๋าวเท่านั้นเอง
และก็ไม่ได้สนใจอะไรเกี่ยวกับเรื่องราวของพระพุทธศาสนาแต่ประการใด
ผู้ เขียนจึงได้ชี้แจงถึงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องการล้างบาปให้กับลูกศิษย์ผู้มี ทุกข์หนักว่าโดยแท้ที่จริงแล้วบาปของทางศาสนาคริสตังเขาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1.บาปที่ให้อภัยได้ (Venial sin) ถ้าจะเปรียบกับพระวินัยของพระภิกษุในพุทธศาสนาก็จัดเป็นพวกลหุกาบัติคือการ ล่วงละเมิดข้อห้าม (วินัย) ของพระภิกษุอย่างเบาโทษไม่ร้ายแรงนัก อาทิ ปลงอาบัติคือไปสารภาพกับพระด้วยกันก็ถือว่ายกโทษให้ เช่น เรื่องกินข้าวเย็นหรือดื่มเหล้าหรือว่ายน้ำเล่นหรือหลอกผีพระด้วยกัน ฯลฯ

นอกจาก นี้ยังมีอาบัติที่หนัก เช่น แกล้งทำให้น้ำอสุจิเคลื่อนหรือเป็นพ่อสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน อย่างนี้ต้องติดคุกพระ กักบริเวณที่ชาวบ้านเรียกว่าอยู่กรรมหรือปริวาสกรรมจึงจะพ้นผิด

2. บาปหนัก (Mortal sin) บาปประเภทนี้ก็เหมือนกับครุกาบัติทางวินัยของพระพุทธศาสนา คือ ประเภทฆ่ามนุษย์ ลักทรัพย์ ร่วมเพศ และอวดคุณวิเศษที่ไม่มีอยู่ในตัวเอง อย่างที่เรียกกันว่าปาราชิกสี่นั่นแหละ โทษถึงประหารชีวิตแบบว่าต้องตายตกจากเพศของสมณะไปเลย

ในทางคริสตังก็ คล้ายๆ กันคือการฆ่าคน ลักทรัพย์ เป็นชู้กับเมียเขา ทุบตีพ่อแม่ อะไรที่อยู่ในบัญญัติสิบประการนั่นแหละ คือทำไปแล้วหากโดนคว่ำบาตรด้วยก็ไปนรกเลย

วิญญาณก็ตายไปด้วย

ผู้ เขียนก็เพ้อต่อไปถึงบาป 7 ประการของทางคริสตังอ้างว่ามนุษย์เรานั้นเกิดมาก็มีบาปติดตัวมาด้วยเพราะต้น ตระกูลของมนุษย์ไม่เชื่อฟังพระผู้เป็นเจ้าด้วยการลักเอาผลไม้ศักดิ์สิทธิ์ใน สวนสวรรค์มากินทั้งๆ ที่พระผู้เป็นเจ้าห้ามแล้วจึงถูกขับไล่จากสวนสวรรค์ เมื่อมีลูกมีเต้าก็มีบาปติดตัวทางสายเลือดแม้จะเข้าพิธีรับศีลจุ่ม (Baptize) แล้วก็ตามมนุษย์ก็ยังมีแนวโน้มที่จะเบี่ยงเบนไปในทางชั่วได้ 7 ประการคือ

1.หมกมุ่นในทางเพศ (Lust)

2.ตะกละ (Gluttony)

3.โลภ (greed)

4.เกียจคร้าน (laziness)

5.โกรธ (wrath)

6.อิจฉา (envy)

7.ยโสโอหัง (Vanity/pride)

การที่จะต่อต้านกับบาป 7 ประการนี้ ทางคริสตังก็ได้มีบุญ 7 ประการมากำราบ คือ

1.ถือพรหมจรรย์ (Chastity) แบบว่าเอาหนามบ่งหนามเลย

2.ยับยั้งชั่งใจ (Temperance) แบบว่ามีสติยับยั้งในการกินการดื่มไม่ให้มากเกินไป

3.บริจาค (Liberality) การบริจาคนั้นยิ่งกว่าการให้ทานเพราะเป็นการขัดเกลาความโลภของผู้ให้ด้วย

4.ขยัน (Diligence) แทนที่ความเกียจคร้าน

5.อดทน (Patience) แบบว่านับหนึ่งถึงสิบให้ทุเลาความโกรธลงได้

6.เมตตา (Kindness) แทนที่อิจฉา

7.อ่อนน้อม (Humility) แทนที่ความยโสโอหัง

ผู้เขียนก็เลยพูดว่าความจริงทางพระพุทธศาสนาก็มีของคู่กันคือ เบญจศีลกับ เบญจธรรม คือ

1.ห้ามฆ่าสัตว์ คู่กับ 1.เมตตา กรุณา

2.ห้ามลักทรัพย์ คู่กับ 2.หาเลี้ยงชีพโดยสุจริต

3.ห้ามประพฤติผิดในกาม คู่กับ 3.สำรวมในกาม

4.ห้ามพูดโกหก คู่กับ 4.มีสัตย์

5.ห้ามเสพสิ่งมึนเมา คู่กับ 5.มีสติรอบคอบ

ผู้เขียนสังเกตดูว่าลูกศิษย์ออกจะงงๆ เลยถามว่าเป็นยังไง? เขาก็บอกว่า

"อาจารย์พูดอะไร ผมไม่รู้เรื่องเลย"

ผู้ เขียนจึงสรุปได้ว่าลูกศิษย์ผู้นี้ไม่มีความรู้ทางศาสนาใดๆ เลย หากแต่ได้ยินได้ฟังมาแบบขาดๆ วิ่นๆ ผิวเผินเหลือเกิน แต่เป็นคนออกจะวิตกจริตมากไปหน่อย

ผู้เขียนจึงให้ยืมหนังสือศาสนา สากลไปอ่านมาก่อนแล้วบอกว่าค่อยมาพูดกันใหม่อีกทีหนึ่ง ตอนนี้ก็ต้องทำใจให้สงบค่อยๆ เรียนรู้ไปก่อน แล้วจึงค่อยคิด ค่อยตัดสินใจกันอีกทีหนึ่งก็ยังไม่สายจนเกินไป