วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ทดสอบ




การบรรยายของอาจารย์

ไอซ์แลนด์ จาก มติชน

Heima ผลึกเพลงสงบงาม ในอ้อมกอดของบ้านเกิดคอลัมน์ อาทิตย์เธียเตอร์โดย พล พะยาบ www.aloneagain.bloggang.com
ขณะกำลังตั้งท่าเขียนต้นฉบับสัปดาห์นี้...พาดหัวข่าวหนึ่งในหนังสือพิมพ์ทำให้ผู้เขียนต้องหยุดอ่านด้วยความสนใจเป็นพิเศษ เพราะมีแง่มุมเกี่ยวเนื่องกับหนังที่ตั้งใจจะเขียนพอดีเนื้อข่าวระบุว่า ไอซ์แลนด์ได้รับการจัดอันดับเป็นประเทศที่มีความสงบสุขมากที่สุดในโลก จากการสำรวจของสถาบันจัดดัชนีความสงบสุขโลก (Global Peace Index) ประจำปี 2008หนังเรื่อง Heima (2007) สะท้อนภาพความสงบสุขดังกล่าวได้อย่างดีอันที่จริง Heima ไม่ใช่หนังธรรมดาทั่วไป แต่เป็นหนังสารคดีที่มีรูปแบบของหนังคอนเสิร์ต โดยศิลปินหรือวงดนตรีต้นเรื่องคือ ซิเกอร์ รอส (Sigur Ros) วงโพสต์-ร็อคสัญชาติไอซ์แลนดิกความพิเศษลำดับต่อมาคือ หนังคอนเสิร์ตเรื่องนี้ต่างจากหนังคอนเสิร์ตเรื่องอื่นๆ ตรงที่ไม่ได้เป็นบันทึกการทัวร์แสดงสดเต็มรูปแบบทั่วประเทศหรือรอบโลก แต่เป็นการตระเวนเล่นดนตรีตามชุมชนหรือสถานที่ห่างไกลรอบเกาะไอซ์แลนด์โดยไม่คิดค่าเข้าชมและไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้าให้เอิกเกริกภาพวิวทิวทัศน์ ชุมชน และผู้คนจากสถานที่ต่างๆ นี่เองที่แสดงให้เห็นถึงความสุข สงบ และสวยงาม...ที่ปกคลุมทั่วดินแดนน้ำแข็งแห่งยุโรปเหนือ
ขณะที่บทเพลงไหวว้าง-นิ่งลึกของซิเกอร์ รอส ร่วมสะกดผสานความรู้สึกนั้นสนิทแน่นเป็นหนึ่งเดียวหนังกำกับโดย ดีน เดอบลัวส์ นักทำหนังชาวแคนาเดียน เริ่มต้นบทบันทึกในเดือนกรกฎาคม ปี 2006 หลังจากซิเกอร์ รอส เสร็จสิ้นทัวร์คอนเสิร์ตรอบโลกโปรโมตอัลบั้ม Takk… ตั้งแต่นิวซีแลนด์ถึงอเมริกาเหนือ พวกเขาเดินทางกลับบ้านเกิดแล้วใช้เวลา 2 สัปดาห์ ตระเวนเล่นฟรีคอนเสิร์ตโดยเดินทางไปเงียบๆ ตามเมืองเล็กๆ ชายทะเลรอบเกาะไอซ์แลนด์...เป็นที่มาของชื่อหนัง Heima ซึ่งแปลว่า "บ้าน"นัยว่าเป็นการย้อนคืนสู่จุดเริ่มต้นของพวกเขา ไม่ว่าจะในความหมายของสถานที่ หรือหมายถึงความธรรมดาสามัญซึ่งสูญเสียไปหลังจากชื่อเสียงความสำเร็จที่ถาโถมเข้ามาอย่างรวดเร็วการแสดงสดแบบเรียบง่ายจัดขึ้นใน 6 เมือง ในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นเวทีกลางเมืองกลางสายหมอก โรงงานปลาเฮอริ่งเก่าในเมืองอุตสาหกรรมประมงที่ถูกปล่อยร้างหลังจากไม่มีปลาในทะเล เวทีทุ่งหญ้าห้อมล้อมด้วยประติมากรรมหุ่นหน้าตาประหลาด ในหอประชุมขนาดเล็ก ร่วมเล่นกับวงดุริยางค์ประจำเมือง กับนักร้องเพลงสวด และเล่นดนตรีอะคูสติคบนที่ราบกลางเทือกเขาเพื่อประท้วงการสร้างเขื่อน (ปัจจุบันพื้นที่บริเวณนั้นจมอยู่ใต้น้ำแล้ว)
มีคอนเสิร์ตเต็มรูปแบบ 2 ครั้ง ในกรุงเรคยาวิก และบนลานโล่งท่ามกลางป่าเขียวในหุบเขาแอสเบอร์กิ แถมด้วยภาพการเล่นดนตรีอย่างเป็นกันเองในหมู่เพื่อนและญาติพี่น้องในร้านอาหารของเมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งหนังเสนอภาพการแสดงดนตรีโดยแบ่งตามสถานที่ ทั้งที่มีผู้ชมและเล่นกันเองตามลำพัง ถ่ายทอดให้เห็นบรรยากาศอันเงียบสงบ รอยยิ้มประดับบนใบหน้าของผู้คนซึ่งมีทุกเพศวัยตั้งแต่เด็กจนถึงคนชรา จำนวนไม่น้อยอุ้มลูกจูงหลานราวกับมาร่วมในงานรื่นเริงประจำท้องถิ่น ภูมิทัศน์ของเมืองดูร่มเย็น บ้านเรือนสีสันสดใส เห็นเทือกภูโอบล้อมอยู่ไม่ไกล บนยอดเขาปกคลุมด้วยสีขาวของหิมะ พ้นขึ้นไปเป็นท้องฟ้าครึ้มคราม บ้างเป็นสีแดงส้มของพลบค่ำบางครั้งพวกเขาอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอย่างแท้จริง รอบทิศไร้สิ่งปลูกสร้าง หนังตัดสลับภาพการแสดงด้วยทัศนียภาพหลากหลายแห่งดินแดนชายทะเล ทั้งที่ราบเวิ้งว้างกว้างใหญ่ เห็นธารน้ำเล็กๆ รินไหล ทะเลสาบนิ่งสงบสะท้องเงา ภูเขาสีเทาทอดยาวสุดสายตา บ้างกางกั้นราวฉากแห่งเวทีธรรมชาติที่รองรับเวทีการแสดงของพวกเขาอีกชั้นหนึ่ง นอกจากองค์ประกอบด้านภาพ ทั้งภาพการแสดง ผู้คน และธรรมชาติซึ่งหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดคือบทเพลงของซิเกอร์ รอส ที่มีเอกลักษณ์อยู่ที่เสียงร้องแผดหวานล่องลอยของ จอน เบอร์กิสสัน คลอเคล้าด้วยเสียงดนตรีจากเครื่องดนตรีหลากชนิด ทั้งเปียโน ออร์แกน ชุดเครื่องสีประเภทไวโอลิน ชุดเครื่องเป่าที่เข้ามาช่วยเพิ่มสีสันในบางเพลง รวมไปถึงเสียงกังวานใสของเครื่องเคาะชื่อ "กลอคเค็นสปิล" ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ในหลายบทเพลง ท่วงทำนองอ้อยสร้อย-เร่งเร้าสอดผสานเรียบเรียงอย่างลงตัวและสวยงาม ราวถูกสะกดตรึงด้วยความรู้สึกโปร่งเบาดื่มด่ำเมื่อบทเพลงดังกล่าวมาพบกับภาพอันสุขสงบงดงาม ประสบการณ์ทางความรู้สึกอันสุดวิเศษจึงเกิดขึ้นตามมากระทั่งดินแดนน้ำแข็งอันไกลโพ้นค่อยๆ เคลื่อนเข้ามาอบอุ่นอยู่ในใจเรานี่เอง...หน้า 23

บ้านอาจสามารถ นครพนม จากมติชน

รู้จักชาวแสก เมืองนครพนมอุษาคเนย์ นงนวล รัตนประทีป
"นครพนม" เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง เรียกว่า "แสก" อาศัยอยู่ ชาวแสกมีวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ และวิถีชีวิตเป็นอัตลักษณ์ผศ.สมชาย นิลอาธิ นักมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยอุบล ราชธานี เป็นหนึ่งในผู้ที่สนใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมภาคอีสานของไทย เล่าให้ฟังในการบรรยายวัฒนธรรมชาวแสกในนครพนม ที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ว่า ชาวแสก จ.นครพนม เป็นชนชาติน้อย มีวัฒนธรรมท้องถิ่น ภาษาพูดเป็นของตัวเอง ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก จากการที่ได้ศึกษา และสัมภาษณ์ผู้เฒ่าผู้แก่ในอีสาน พบว่า ชาวแสก มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในเวียดนามภาคเหนือ พอมีปัญหาต่างก็เคลื่อนย้ายกระจัดกระจายไปตามแถวชายแดนประเทศต่างๆ เช่น จีน ลาว และไทย ชาวแสกในปัจจุบันบางส่วนอยู่ตอนใต้ประเทศจีน ทางมณฑลยูนนาน เลี่ยงไปทางตะวันออกก็เข้าเขตกวางสี ในส่วนของลาวเข้าเขตตอนเหนือแขวงคำม่วน แขวงบอลิคำไซ และจากแขวงคำม่วนเข้ามาทางท่าแขกริมฝั่งแม่น้ำโขง จ.นครพนม ในภาคอีสาน
ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่า และประวัติศาสตร์ที่นักวิชาการลาวเขียนไว้ น่าจะเป็นไปได้ว่าถิ่นเดิมของแสกมาจากเวียดนามเหนือ ใกล้กับเมืองเวียงไซ ซำเหนือ แขวงหัวพัน จากนั้นอพยพแตกกระจาย พวกหนึ่งเข้ามาทางแขวงคำม่วน และแขวงบอลิคำไซ ตอนกลางของลาว ผ่านมาทางหลักซาว นากาย ยมมะลาด มะหาไซ อีกส่วนหนึ่งข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาที่ท่าแขก จ.นครพนม คาดในราวรัชสมัยพระเจ้าปรา สาททอง แห่งกรุงศรีอยุธยา ก่อนเริ่มตั้งถิ่นฐานที่บ้านอาจสามารถ อ.เมือง จ.นคร พนมผศ.สมชาย เล่าต่อว่า ปัจจุบันชาวแสกอาศัยอยู่ในภาคอีสาน มีอยู่ 4 หมู่บ้าน ในจ.นครพนม คือ บ้านอาจสามารถ และบ้านไผ่ล้อม อ.เมือง จ.นครพนม ที่บ้านมะหว้า อ.นาหว้า จ.นครพนม และบ้านดอนสมอ ต.ท่าบ่อสงคราม อ.ศรีสงคราม จ.นคร พนม สำหรับบ้านอาจสามารถ อยู่ห่างจากตัวเมืองนครพนมแค่ประมาณ 5 กิโลเมตร ถือเป็นชนชาติ หรือชนเผ่าส่วนน้อย ส่วนคำว่าแสกนั้น จากการศึกษาของนักวิชาการลาว ก็ระบุว่าไม่มีใครรู้ความหมายของคำว่า "แสก" รู้แต่ว่าคนเผ่าอื่นเรียกกันและทางการก็ใช้คำว่าแสก
จากอีกหลักฐานที่พบ อาจเป็นไปได้ว่าพวกแสกอพยพหนีภัยการคุกคามของญวน เข้าไปอยู่ในเขตเมืองคำเกิด คำม่วน แต่เนื่องจากสำเนียงภาษาพูดแปร่งจากคนกลุ่มอื่นๆ ที่เข้าไป "แทรก" อาศัยอยู่กับพวกญ้อ ผู้ไท พวน แทนที่จะเรียกพวก "แซก" เลยกลายเป็น "แสก" จุดเด่นของชาวแสกคือ พิธีกรรม ดังที่ที่บ้านอาจสามารถมีพิธี "กินเตดเดน" บางครั้งเรียกว่า "เลี้ยงเดน" จะมีศาลเจ้าพ่อ "เดนหวั่วโองมู้" ชาวแสกจะนำข้าว เนื้อควาย ไปเซ่นไหว้ที่ศาล ในวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 จัดพิธีเลี้ยงช่วงเช้าเป็นต้นไป เป็นผีประจำเผ่า โดยคำว่า "กินเตดเดน" เป็นภาษาเวียด คำว่า "เตด" คือ "ตรุษ" เป็นที่รู้กันว่า "ตรุษแสก" สำหรับภาษาเขียนของชาวแสก พบว่าไม่มีตัวอักษรที่เป็นตัว ร เลย แต่จะมีภาษาปากที่ใช้อยู่ในกลุ่มของตนเท่านั้นเมื่อติดต่อกับคนภายนอกจะใช้ภาษาลาวเป็นหลัก แต่ก็มีภาษาชนเผ่าอื่นปนอยู่เช่นกัน คนกลุ่มภาษาตระกูลไทยลาวจะฟังภาษาแสกเข้าใจประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ และหากประเมินทัศนะของแสกแล้ว จะพบว่ามีหลายภาษาปนอยู่ คือ ภาษาแสก ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ภาษาลาว 30 เปอร์เซ็นต์ และภาษาเวียดนาม 10 เปอร์ เซ็นต์ อีกทั้งในพิธีเลี้ยงนี้จะพิธีเต้น "สาก" เดิมจะมีแต่ผู้หญิงที่เต้นเท่านั้น ปัจจุบันมีผู้ชายร่วมเต้นด้วยส่วนชาวแสกที่บ้านไผ่ล้อม ต.อาจสามารถ มีพิธีกรรม "เสี่ยงหอย" เพื่ออธิษฐานขอฟ้าฝน โดยใช้หอยขม หรือหอยจูบ 3 ตัว ชาวแสกเรียกว่า "เสี่ยงโอก" ทำในตอนเย็น หรือประมาณ 1 ทุ่ม ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 สำหรับการแต่งตัวของชาวแสกจะคล้าย "ลาวโซ่ง" หรือ "ลาวดำ" เพราะการท่อผ้ายอมสีจะคล้ายกัน พื้นเดิมอยู่ที่ นาแมว นาบึก หัวพัน ส่วนใหญ่จะเป็น "ผู้ไทดำ" หรือ ลาวโซ่ง นี่เป็นส่วนหนึ่งของชาวแสกที่ถูกนำมาถ่ายทอดในเบื้องต้น เชื่อว่ายังมีสิ่งที่ไม่รู้อีกมากมายให้ค้นหาสำหรับชาติพันธุ์นี้ ต่างเกี่ยวข้องดองเป็นเครือญาติกันในภูมิภาค

วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

FW: ข่าวบ้านเมือง




From: sompobe@msn.com
To: sompope2006@hotmail.com; sompope_work@hotmail.com; sompope.sompope2007@blogger.com
Subject: ข่าวบ้านเมือง
Date: Wed, 21 May 2008 07:45:14 +0700

 หมวดข่าว / ข่าวออนไลน์
โดย บ้านเมืองออนไลน์ เมื่อเวลา 10:09:00  วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2551
รองนายกเล็กเมืองอำนาจฯ โต้กระแสข่าวนายกโดนใบแดง
รองนายกเล็กเมืองอำนาจฯ โต้กระแสข่าวนายกโดนใบแดง

          อำนาจเจริญ/ ตามที่มีข่าวออกมาตลอดเวลา ว่า นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ ถูก กกต. กลาง กทม.ให้ใบแดง และยุติบทบาทการบริหารงานเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ ตั้งแต่วันที่ 6 พ.ค.ที่ผ่านมา สร้างความสับสนแก่ประชาชนชาวเทศบาลเมืองอำนาจเจริญเป็นอย่างมาก

          นางพวงคำ สวัสดี รองนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองอำนาจเจริญและที่ปรึกษากลุ่มอิสระอำนาจเจริญ เปิดเผยถึงเรื่องดังกล่าวว่า ศาลอุทธรณ์ได้รับเรื่องไว้แล้ว เกี่ยวกับมีผู้ร้องเรียนว่าการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองอำนาจเจริญเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2550 ที่ผ่านมา ไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม มีการทุจรติการเลือกตั้ง และได้มีหนังสือถึงนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ เมื่อต้นเดือน พ.ค.51ให้ระงับการทำงานของนายกจนกว่าศาลจะตัดสิน ระหว่างนี้คณะบริหาร คือรองนายกเทศบาลฯ ทั้ง 2 คน ได้ปฏิบัติราชการแทนไปก่อน หากผลออกมาว่าถูกใบเหลืองหรือใบแดง จะต้องมีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งกลุ่มอิสระอำนาจเจริญ นายวิชัย บุญเสริฐ หัวหน้ากลุ่ม และนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองอำนาจเจริญที่เป็นฝ่ายบริหารในปัจจุบันและมี ส.ท.ในสังกัด 15 คนจากทั้งหมด 18 คน ก็จะมีการประชุมหารือกันอีกครั้ง ว่าจะส่งใครลงสมัครนายกเทศบาลฯ ทั้งนี้ ประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนและต้องการให้ตนลงสมัครในนามกลุ่มอิสระอำนาจเจริญ แทนนายกวิชัย บุญเสริฐ หัวหน้ากลุ่ม ซึ่งตนก็พร้อมเต็มที่ แต่จะต้องได้รับเสียงประชามติจากสมาชิกกลุ่มก่อนจึงจะตัดสินใจอีกครั้ง






ติดตามข่าวสาร สาระบันเทิง กีฬา และอื่นๆ ที่ MSN Thailand Homepage MSN Thailand Homepage

FW: ข่าวมติชน




From: sompobe@msn.com
To: sompope.sompope2007@blogger.com; sompope_work@hotmail.com; sompope2006@hotmail.com
Subject: ข่าวมติชน
Date: Wed, 21 May 2008 07:52:11 +0700

 
วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11019

กกต.กลางสั่งฟ้าผ่า ให้นายกเมืองอำนาจฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่




นางพวงคำ สวัสดี รองนายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ คนที่ 1 เปิดเผยว่า เทศบาลได้รับหนังสือคำสั่งด่วนจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กลาง ให้นายวิชัย บุญเสริฐ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ หยุดปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม 2551 หลังเข้าปฏิบัติงานหลังเกือบ 1 ปี และให้ตนรักษาการแทนนายวิชัย เนื่องจากการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2550 ไม่เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการอุทธรณ์คำสั่ง ซึ่งตนจะไปให้ปากคำเพิ่มเติมที่ศาลอุทธรณ์ภายในเดือนพฤษภาคมนี้ ส่วนงานทุกอย่างของเทศบาลสามารถดำเนินการได้ตามปกติ

รายงานข่าวแจ้งว่า หลังประชาชนในพื้นที่ทราบข่าว ได้วิพากษ์วิจารณ์ว่า อาจมีใบเหลืองใบแดงจากการเลือกนายกและสมาชิกสภาเทศบาล (ส.ท.) อำนาจเจริญหลายรายอย่างแน่นอน ทำให้บรรยากาศการเมืองเป็นไปอย่างคึกคัก โดยบางกลุ่มเตรียมเปิดตัวหาเสียงสำหรับการเลือกตั้งซ่อมแล้ว

(กรอบบ่าย)



แต่งบล็อกใน Space ของคุณง่ายๆ ด้วย Windows Live Writer Windows Live Writer

วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

วันวิสาขะ จากมติชน

"วิสาขบูชา" วันสำคัญทางพุทธศาสนา กับโอกาสในการสร้างคุณความดีโดย กฤษณา พันธุ์มวานิช สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรมวันวิสาขบูชาตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 คำว่า "วิสาขะ" แปลว่า เดือน 6 ซึ่งทางจันทรคติเรียกว่า วิสาขมาส คำว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจากคำว่า วิสาขบูรณมีบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 ถ้าหากปีใดมีเดือนอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน วันวิสาขบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7ทางราชการถือว่าวันวิสาขบูชาเป็น "วันพระพุทธ" เพราะเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และวันปรินิพพาน ในวันเดียวกันประเพณีวันวิสาขบูชาในประเทศไทยเริ่มกระทำมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ดังตำนาน "อันพระนครสุโขทัยราชธานี ถึงวันวิสาขบูชานักขัตฤกษ์ครั้งใดก็สว่างไสวไปด้วยแสงประทีป เทียนดอกไม้เพลิง" ในครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาไม่ปรากฏหลักฐาน ส่วนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 ได้ทรงฟื้นฟูพิธีวันวิสาขบูชาให้เป็นแบบแผนขึ้นและกระทำสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันดังกล่าวข้างต้นว่าวันวิสาขบูชาเป็นวันที่เกิดเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ-วันที่พระองค์ทรงประสูติเมื่อวันศุกร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ณ สวนลุมพินีวัน ประเทศเนปาล-พระองค์ทรงตรัสรู้เมื่อวันพุธขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ณ อุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย-พระองค์ทรงปรินิพพานเมื่อวันอังคารขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง เมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา ณ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ ประเทศอินเดียดังนั้น พุทธศาสนิกชนจึงสมควรจะมีการประกอบพิธีพุทธบูชา เพื่อน้อมรำลึกถึงพระพุทธคุรอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธองค์การกำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของโลก เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2543 นายดอน ปรมัตต์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงต่อสื่อมวลชนว่า ตามที่มีการประชุม International Buddhist Confernce ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา ระหว่างวันที่ 9-14 พฤศจิกายน 2541 ซึ่งมีผู้แทนจากประเทศที่นับถือศาสนาพุทธจำนวนมากเข้าร่วม อาทิ บังกลาเทศ จีน ลาว เกาหลีใต้ เวียดนาม ภูฏาน อินโดนีเซีย เนปาล กัมพูชา อินเดีย ปากีสถาน และไทย ได้ตกลงที่จะเสนอให้สมัชชาสหประชาชาติรับรองข้อมติที่จะประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดของสหประชาชาติต่อมาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2542 ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 54 ได้พิจารณาว่า เนื่องจากวันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของพุทธศาสนิกชนทั่วโลกเพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ทรงตรัสรู้ เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้มวลมนุษย์มีเมตตาธรรม และขันติธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพื่อให้เกิดสันติสุขในสังคม อันเป็นแนวทางสหประชาชาติที่ประชุมจึงให้การรับรองโดยฉันทามติว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ และที่ทำการสมัชชาจะจัดให้มีการระลึกถึง (Observance) ตามความเหมาะสมดังที่กล่าวแล้วข้างต้นว่าวันวิสาขบูชามีความสำคัญสหรับพุทธศาสนิกชนทั่วโลก และด้วยเหตุที่ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ศาสนูปถัมภกพระพุทธศาสนา ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ ความศรัทธาเลื่อมใสก็มีอยู่ทั่วกัน และทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ซึ่งเป็นแนวทางของสหประชาชาตินั้นพุทธศาสนิกชนจึงได้จัดให้มีการประกอบพิธีวิสาขบูชาขึ้นในวันนี้เนื่องจากถือว่าวันนี้มีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธองค์อย่างน่าอัศจรรย์ คือ เป็นวันที่ตรงกับวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน โดยยึดหลักความกตัญญู อริยสัจ 4 และความไม่ประมาท ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ควรปฏิบัติในวันวิสาขบูชาความกตัญญู คือ ความรู้อุปการคุณที่มีผู้ทำไว้ก่อนเป็นคุณธรรมคู่ความกตเวที คือ ตอบแทนอุปการคุณที่ผู้อื่นทำไว้นั้น ผู้ที่มีอุปการคุณก่อนเรียกว่า "บุพพการี" ขอยกมากล่าวในที่นี้คือ บิดา มารดา และครูอาจารย์ คุณธรรมในข้อนี้สามารถนำไปใช้ได้แม้ระหว่างพระมหากษัตริย์กับพสกนิกร นายจ้างกับลูกจ้างเพื่อนกับเพื่อน และบุคคลทั่วไป รวมทั้งมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมอริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ หมายถึง ความจริงที่ไม่ผันแปร ที่เกิดได้กับทุกคนซึ่งมี 4 ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิต ทุกข์ที่เกิดจากการไม่ได้ตามใจปรารถนา รวมทั้งทุกข์ที่เกี่ยวกับดำเนินชีวิตด้านต่างๆสมุทัย คือ เหตุแห่งปัญญานั้น คือ ตัณหา อันได้แก่ ความอยากได้ต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วยความยึดมั่นนิโรธ คือ การแก้ปัญหาได้ ทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิตทั้งหมดนั้นแก้ไขได้ดดยการดับตัณหา คือ ความยากให้หมดสิ้นมรรค คือ ทางหรือวิธีการแก้ปัญหาด้วยการแก้ไขตามมรรคมีองค์ 8ความไม่ประมาท คือ การมีสติขณะพูดและขณะคิด คือ การระลึกรู้ทันที่คิด พูดและทำ ในภาคปฏิบัติเพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน หมายถึง การระลึกถึงรู้ทันการเคลื่อนไหวอิริยาบถ 4 คือ เดิน ยืน นั่ง นอน การฝึกให้มีสติทำได้โดยตั้งสติกำหนดการเคลื่อนไหวอิริยาบถกล่าวคือ ระลึกรู้ทันทั้งในขณะยืน เดิน นั่ง และนอน รวมทั้งระลึกรู้กันในขณะพูด ขณะคิดและขณะทำงานต่างๆการจัดพิธีวันวิสาขบูชาของชาวพุทธในปัจจุบันก็คือ มีการเวียนเทียนและสดับพระธรรม การตั้งโต๊ะหมู่บูชา ตกแต่งดอกไม้ตามมุมของพระอุโบสถอย่างสวยงามตามพุทธประวัติ ปางประสูติ ปางตรัสรู้ ปางปฐมเทศนา และปางเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานรวม 4 มุม เพื่อแสดงออกถึงความเคารพสักการะต่อองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยการบูชา 2 ประเภท คือ การบูชาด้วยวัตถุสิ่งของ ดอกไม้ ธูปเทียน อย่างหนึ่ง ปฏิบัติบูชา คือ การบูชาด้วยการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่ง การบูชาทั้ง 2 ประการนี้ พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญปฏิบัติบูชาเพราะว่าการบูชาด้วยการประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนย่อมมีประโยชน์มากคือ ทำให้ศาสนาของพระองค์เจริญรุ่งเรืองมาตราบเท่าทุกวันนี้

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ตำนานข้าวหอมมะลิ จากมติชน

วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 18 ฉบับที่ 6373 ข่าวสดรายวันสุนทร สีหะเนิน ตำนาน"ข้าวหอมมะลิ"มนตรี จิรพรพนิต
ปี2551 นับเป็นปีที่ชาวนาไทยดูจะมีความสุขกว่าที่ผ่านมา หลังจากราคาข้าวกระโดดขึ้นไปสูงถึงเกวียนละมากกว่า 15,000 บาท อย่างล่าสุดราคารับซื้อข้าวเปลือกหอมมะลิ ของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 7 พ.ค. ที่ศูนย์จังหวัดอุดรธานี ราคา 18,500-19,000 บาทต่อเกวียน หรือที่ศูนย์จังหวัดสุรินทร์อยู่ที่เกวียนละ 18,000-18,100 บาทสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากความขาดแคลนข้าวในตลาดโลก จนหลายประเทศที่เป็นคู่แข่งในการส่งออกข้าวสู่ตลาดโลก พากันออกกฎห้ามจำหน่ายข้าวสารออกนอกประเทศโดยเฉพาะข้าวของไทยเราคือ "ข้าวขาวดอกมะลิ" หรือเรียกกันติดปากว่า "ข้าวหอมมะลิ" เป็นที่ต้องการของตลาดโลก เพราะได้รับการยอมรับแล้วว่า เป็นข้าวที่เมื่อหุงแล้วจะมีกลิ่นหอมหวาน เม็ดข้าวนุ่มนวล รสชาติอร่อยที่สุด เป็นหนึ่งในพันธุ์ข้าวที่หลายประเทศทั่วโลกยอมรับ จากพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่นิยมปลูกกันในพื้นที่เพียงตำบลเดียวในไทย คือ ต.ท่าทองหลาง อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา สู่ความยิ่งใหญ่ของความเป็นข้าวที่ทุกคนในโลกต้องการ มาจากอดีตข้าราชการชั้นผู้น้อยคนหนึ่งชื่อ "สุนทร สีหะเนิน" อดีต ผอ.สำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ ตำแหน่งสุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ค้นพบสายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 อันโด่งดังคุณตาสุนทร ในวัย 86 ปี เปิดบ้านพาย้อนรำลึกความหลังให้ฟังว่า เกิดในครอบครัวชาวนา อ.กันตัง จ.ตรัง เรียนจบชั้น ม.6 ในตัวจังหวัด จากนั้นไปเรียนต่อที่โรงเรียนแม่โจ้ หรือมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปัจจุบันสมัยนั้นโรงเรียนแม่โจ้เป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ของวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าเรียนเป็นรุ่นที่ 7 ในพ.ศ.2483 รุ่นเดียวกับ ศ.ระพี สาคริกสำเร็จการศึกษาในปี 2485 จึงกลับไปอยู่ที่บ้าน จ.ตรัง เพราะอยู่ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา ระหว่างนั้นวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ส่งจดหมายให้มาเข้าเรียน เพราะได้รับโควตาจากโรงเรียนแม่โจ้ เพราะเรียนดี แต่สมัยนั้นบ้านยากจน จึงไม่มีเงินที่จะส่งให้เรียนได้
กระทั่งเดือนตุลาคมปีเดียวกัน กรมเกษตรส่งจดหมายแจ้งว่า กำลังรับสมัครนักศึกษาที่จบจากโรงเรียนแม่โจ้ เพื่อบรรจุเป็นพนักงานส่งเสริมการเกษตร จึงสมัครสอบเข้าเป็นพนักงานข้าว กรมเกษตร วันที่ 1 ม.ค. พ.ศ.2486 กรมเกษตรบรรจุให้เป็นพนักงานข้าว อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ได้เงินเดือน 34 บาท แต่เพราะเป็นคนปักษ์ใต้ ไม่มีความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ข้าวของภาคกลาง จึงขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมไปได้หนังสือเล่มหนึ่งเขียนโดย ม.ล.ยิ่งศักดิ์ อิศรเสนา หัวหน้าสถานีทดลองรังสิต ชื่อ "มารยาแม่โพสพ" เป็นหนังสือเกี่ยวกับพันธุ์ข้าวทั่วประเทศ แต่เน้นในเขตภาคกลาง จนมีความรู้พอทำงานได้เมื่อเริ่มทำงาน รุ่นพี่ซึ่งคุณตาสุนทรจะต้องไปแทนตำแหน่งแนะนำว่า นอกจากข้าวแล้วยังต้องเรียนรู้พืชอื่นๆ ด้วยเพราะตำแหน่งที่ไปทำนั้นแม้จะชื่อว่าพนักงานข้าว แต่ต้องรู้เรื่องเกี่ยวกับการเกษตรทุกอย่าง เพื่อคอยให้คำปรึกษานายอำเภอ ปลัดอำเภอ และเกษตรกรทุกคน เหมือนเกษตรอำเภอในสมัยนี้คุณตาสุนทรย้ำให้ฟังว่า สิ่งที่จะต้องเรียนรู้ใน อ.บางคล้า มีอยู่ 3 อย่างด้วยกัน คือ สับปะรดคลองท่าลาด มะม่วงบางคล้า และข้าวหอมมะลิโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ในสมัยนั้นเป็นข้าวพันธุ์พื้นบ้านที่มีชื่อเสียงมาก แต่มีปลูกเป็นจำนวนน้อย เฉพาะในพื้นที่ ต.ท่าทองหลาง พร้อมทั้งแนะนำให้ไปขอความรู้กับ "ขุนทิพย์" กำนันตำบลท่าทองหลาง ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องข้าวหอมมะลิที่สุดในยุคนั้นขุนทิพย์ให้ความรู้ว่า ข้าวหอมมะลิเป็นข้าวพื้นบ้านของ ต.ท่าทองหลาง เป็นที่นิยมของคหบดีที่มีชื่อเสียงจากเมืองหลวง หากมา อ.บางคล้า จะต้องมาซื้อข้าวหอมมะลิท่าทองหลางแต่ด้วยเป็นข้าวหอมมะลิ เป็นข้าวนาปีปลูกได้ครั้งเดียวต่อปี และเป็นข้าวเบา ต้องปลูกในที่นาดอนที่เป็นดินร่วนปนทรายเท่านั้น ซึ่งใน อ.บางคล้า มีเพียง ต.ท่าทองหลาง เท่านั้นที่เหมาะสมสำหรับปลูก จึงเป็นเหตุให้แม้จะได้รับความนิยมและราคาสูง แต่ไม่สามารถปลูกได้อย่างแพร่หลายออกไป
หลายครั้งที่มีผู้พยายามนำพันธุ์ข้าวหอมมะลิท่าทองหลางออกไปปลูกนอกพื้นที่ แต่ไม่เคยประสบความสำเร็จ เคยมีผู้ที่พยายามนำพันธุ์ข้าวหอมมะลิออกไปปลูกที่อื่นครั้งใหญ่ที่สุด คือประมาณปีพ.ศ.2492 พนักงานข้าว อ.บางเขน ชื่อ สุนันท์ ยุวนานนท์ มาพร้อมกับคุณหญิงของพระนรราชจำนงค์ ปลัดกระทรวงเศรษฐการ หรือกระทรวงพาณิชย์ในปัจจุบันขอซื้อพันธุ์ข้าวหอมมะลิ เพื่อไปปลูกในพื้นที่ อ.บางเขน ได้ไปประมาณ 10 ถัง ปลูกในพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ ผ่านไป 1 ปีก็มีจดหมายมาบอกว่า ไม่ได้ผล ข้าวไม่ขึ้น ไม่ออกรวง รวงลีบ หรือให้ผลผลิตน้อยจนไม่คุ้มทุน ต้องเลิกความคิดที่จะขยายพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิจนทุกคนคิดว่าข้าวหอมมะลิเป็นข้าวประจำถิ่น ไม่สามารถนำไปปลูกยังพื้นที่อื่นได้ต่อมาในสมัยสงครามเย็น ผู้นำโลกเสรีที่ต่อต้านการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างอเมริกา ต้องการใช้ไทยเป็นเกราะกำบังในการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเชีย จึงให้ความช่วยเหลือในด้านการทหารและเศรษฐกิจ เมื่อพ.ศ.2493โครงการดังกล่าวมองว่า เศรษฐกิจไทยเดินได้ด้วยชาวนาเป็นหลัก จึงเข้ามาช่วยชาวนาไทยด้วยการพัฒนา และคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีที่สุดให้เพาะปลูกสหรัฐส่งผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุ์พืชมาเป็นที่ปรึกษาโครงการ ฝึกอบรมนักวิชาการไทย จำนวน 30 คน จาก 36 จังหวัด โดยคุณตาสุนทรเป็นหนึ่งที่ได้เข้ารับการฝึกอบรมในครั้งนั้น หลังเสร็จสิ้นการฝึกอบรมรับมอบหมายให้วางแผนเก็บพันธุ์ข้าวที่ดีที่สุดตามทฤษฎีที่เรียนมา ในเขตพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา และ จ.ชลบุรี ได้ทั้งหมดจำนวน 25 สายพันธุ์ โดยไม่มีข้าวหอมมะลิอยู่ในจำนวนนั้นด้วยแต่ระหว่างที่เฝ้าติดตามดูการเจริญเติบโตของข้าวทั้ง 25 สายพันธุ์ ต้องเดินผ่านพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิทุกวัน สังเกตว่าข้าวหอมมะลิปลูกหลังพันธุ์อื่นแต่เจริญเติบโตรวดเร็วกว่าจนเก็บเกี่ยวได้ก่อน ประกอบกับเห็นว่าเป็นพันธุ์ข้าวที่มีชื่อเสียงของ อ.บางคล้า จึงเสนอเรื่องไปยังกรมเกษตร เพื่อเพิ่มข้าวหอมมะลิเป็นสายพันธุ์ที่ 26 ในการทดลองเมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวจึงเข้าไปคัดรวงข้าวที่ดีที่สุด จำนวน 200 รวง เป็นตัวอย่างส่งไปให้กรมเกษตรพร้อมกับ 25 สายพันธุ์ที่คัดเลือกไว้ก่อนหน้าโดยตัวอย่างข้าวหอมมะลิถูกนำไปทดลองปลูกที่สถานีทดลองโคกสำโรง จ.ลพบุรี โดยใช้ข้าวนางมณ เป็นข้าวหอมเช่นกัน แต่เป็นพันธุ์พื้นเมืองของรังสิต เป็นต้นแบบในการเทียบเคียงการทดลองปลูกจะนำเมล็ดข้าวของแต่ละรวงมาปลูกเรียงกันเป็นแถวในกระบะทีละเม็ด จนครบทั้ง 200 รวง บำรุงอย่างดีปลายปี 2494 เมื่อข้าวโตจนให้ผลผลิตแล้ว ผลการทดลองปรากฏว่าจำนวน 199 รวงของข้าวหอมมะลิให้ผลผลิตที่ต่ำกว่าข้าวนางมณ มีเพียงรวงเดียวเท่านั้นที่ให้ผลผลิตที่สูงกว่า คือ รวงที่ 105จึงเป็นที่มาของชื่อสายพันธุ์ว่า "ข้าวขาวดอกมะลิ 105" หรือข้าวหอมมะลินั่นเอง จากนั้นนำผลผลิตที่ได้ไปขยายพันธุ์ จนเก็บเกี่ยวได้พันธุ์ข้าวเป็นเกวียนใน พ.ศ.2496 และกระจายพันธุ์ข้าวที่ได้ไปปลูกในทุกพื้นที่ของประเทศไทยกระทั่ง พ.ศ.2501 หลังจากทดลองปลูกติดต่อกันมา 6 ปี จึงพบว่า ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เหมาะที่จะปลูกในพื้นที่ภาคอีสาน เพราะเป็นดินร่วนปนทราย ลักษณะเป็นนาน้ำฝน สิ่งที่พิเศษคือ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นสายพันธุ์ที่ทนแล้งมากที่สุด เหมาะจะปลูกในภาคอีสานที่สุดจนกลายมาเป็นข้าวหอมมะลิอันโด่งดัง รางวัลที่ได้รับ ฐานะผู้ค้นพบพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105พ.ศ.2536 โล่เชิดชูเกียรติ จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ.2543 โล่เชิดชูเกียรติ จากกรมปรับปรุงพันธุ์ข้าวและขยายพันธุ์พืชแห่งประเทศไทย เป็นผู้ทำคุณประโยชน์แก่ชาวนาไทยและประเทศชาติศิษย์เก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยแม่โจ้สวทช.ประกาศให้เป็น 1 ใน 100 ผู้ทำคุณประโยชน์ให้ประเทศชาติในรอบ 100 ปีพ.ศ.2550 โล่ประกาศเกียรติคุณ จากกรมการข้าว ฐานะผู้มีผลงานอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาข้าวไทย

เบอร์ติดต่อทัวร์สหมิตร

จุดขาย
เบอร์โทรศัพท์
สาขาอุดรธานี
042-343531
สาขาสกลนคร
087-9490040
สาขานครพนม
042-512403
สาขาธาตุพนม
042-541087
สาขามุกดาหาร
042-611389
สาขาเลิงนกทา
089-2851445
สาขาอำนาจเจริญ
045-451227
สำนักงานใหญ่
045-285534
สถานีขนส่งอุบล
045-285780
จองตั๋วออนไลน์
045-285780
จองตั๋วออนไลน์2
045-285534

วันจันทร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ความเชื่อมั่น เศรษฐกิจ ความเชื่อมั่น ทาง "การเมือง" คนละเรื่อง อันเดียวกัน

ที่สำคัญก็คือ ต้องรู้จักจำแนกแยกแยะความต่างระหว่างกระบวนการ "บริหารบ้านเมือง" กับกระบวนการ "บริหารการเมือง" ออกจากกัน และดำเนินไปในลักษณะคู่ขนานอย่างเหมาะสม
จาก มติชน 5พค51

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

วิพากษ์ CSR(จากมติชน)

วิพากษ์ CSR ไทย

โดย เกษม ตั้งทรงศักดิ์ คณะพัฒนาสังคม นิด้า รุ่น 14



เป็นที่ยอมรับว่าเรื่องราวความรับผิดชอบต่อสังคมที่มักจะเรียกกันสั้นๆ ว่า CSR หรือ (Corporate Social Responsibility) ถือเป็นหนึ่งในกระแสความสนใจของสังคมไทย ที่มีการหยิบยกมาพูดคุยกันมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมานี้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดสัมมนา เสวนา พูดคุยกันอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการกล่าวถึงความสำคัญ แนวโน้มและทิศทางของการทำกิจกรรมหรือโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมจนถึงขั้นมีการทำหนังสือว่าด้วยเรื่องของ CSR ออกมาขายกันเป็นเรื่องเป็นราวมากมายทีเดียว

ผู้เขียนในฐานะที่พอมีประสบการณ์และเคยมีส่วนร่วมทำกิจกรรมและโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา จะขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยต่อการขับเคลื่อนเรื่องของ CSR ในเมืองไทย ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีประโยชน์

ผู้เขียนเคยตั้งคำถามกับตัวเองว่าอะไรคือจุดอ่อนจุดแข็งที่ทำให้ CSR ในเมืองไทยถึงเพิ่งมาพูดคุยกันอย่างจริงจังในขณะนี้

ในระยะ 10 กว่าปีที่แล้ว ผู้เขียนสังเกตว่า

ประการที่ 1 เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่ไม่อยู่ในสายตาของแวดวงคนทำธุรกิจ การทำกิจกรรมสังคมแทบจะไม่อยู่ในสายตาของผู้นำธุรกิจเลย งาน CSR เป็นเพียงงานที่ทำก็ได้ไม่ทำก็ได้ไม่เห็นเป็นอะไรธุรกิจก็ยังดำเนินอยู่ได้

ดังนั้น เราจึงเห็นว่า งาน CSR ไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์องค์กร เป็นเพียงงานฝาก งานที่ทำเพราะองค์กรนั้นมองเพียง CSR เป็นเครื่องมือสร้างภาพ สร้างแบรนด์หรือเพื่อมาหักลบกลบเกลื่อนภาพที่ไม่ดีขององค์กรที่กระบวนการทำธุรกิจขององค์กรนั้นๆ ไปสร้างความเสียหายต่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อมในชุมชน

ประการที่ 2 ความเข้าใจในทิศทางงาน CSR นั้น ต่างมุ่งไปในลักษณะของการทำบุญทำทาน เป็นงานเชิงสังคมสงเคราะห์ ซึ่งไม่ใช่ไม่ดี แต่ผู้เขียนมองว่าเป็นวิธีการที่ไม่อาจแก้ปัญหาที่เป็นรากเหง้าของสังคมได้

งาน CSR ในสมัยก่อนไม่ได้มุ่งมั่นที่จะทำเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาสังคม ทำกันครั้งสองครั้งก็เลิกรากันไป กิจกรรมหรือโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมที่ผ่านมาจึงไม่จีรังยั่งยืน หรือเปลี่ยนแปลงไปตามผู้นำองค์กรมากกว่าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

งาน CSR มักผูกติดกับตัวบุคคล ไม่ได้เป็น Core หลักขององค์กร งาน CSR เป็นเพียงส่วนหนึ่งอยู่กับฝ่ายประชาสัมพันธ์ ไม่ได้มองถึงขั้นว่างาน CSR จะเป็นเรื่องสำคัญในปัจจุบันส่งผลให้ปัจจุบันองค์กรจึงประสบปัญหาการขาดแคลนบุคลากรและการสร้างคนที่จะมาทำงานทางสังคมอย่างจริงจัง

ซึ่งสรุปได้ว่าหลายองค์กรมีความเข้าใจในเรื่องของ CSR เป็นเรื่องผิวเผิน เป็นเรื่องเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง ไม่ได้มีการมองแบบบูรณาการ หรือมีเป้าหมายเด่นชัด ปีไหนบริษัทมีกำไรก็ทำ ไม่มีกำไรก็ไม่ทำ ไม่เคยคิดจะทำเป็นรายงานอะไรออกมาให้สังคมรับรู้ เพราะรู้แล้วอาจอายได้

ไม่เพียงเท่านั้น ประการที่ 3 ภายในองค์กร ถูกมองด้วยทัศนคติที่ไม่ดี งาน CSR เป็นงาน ใช้เงิน เสียเงิน ทำแล้วไม่เห็นเม็ดเงิน มีแต่เสียกับเสีย ทั้งๆ ที่หลายกิจกรรม หลายโครงการไม่ต้องใช้เงินก็ทำได้ สมัยก่อนจึงไม่ค่อยมีใครอยากทำงาน CSR เพราะว่าไม่คุ้มค่ากับการลงทุนเป็นความสูญเปล่า

ทั้งที่หากบริหารจัดการให้เป็น จะเห็นว่างาน CSR กลับมีมูลค่าการลงทุนที่ต่ำกว่างานการตลาด งานการสร้างภาพ สร้างแบรนด์เป็นไหนๆ และมีค่าที่ประเมินไม่ได้

มาถึงวันนี้จึงมีคำตอบว่าทำไม คนในแวดวงธุรกิจจึงโหยหาความรู้เรื่อง CSR ก็เพราะอย่างที่ผู้เขียนบอก 10 กว่าปีที่ผ่านมา เราไม่มีบุคลากร วิศวกรทางสังคมประจำองค์กร หลายองค์กรขาดคนทำงานด้านสังคม ขาดองค์ความรู้ในเรื่องของการคิด ริเริ่ม ดำเนินการ บริหารจัดการงานด้าน CSR หลายกิจกรรมเกิดแล้วดับ เปลี่ยนผู้นำองค์กรทีก็มาเริ่มต้นกันใหม่ ไม่มียุทธศาสตร์งานพัฒนาสังคม

ทุกวันนี้เราจึงได้แต่พูดกันในเชิงแนวคิด ทฤษฎีมากกว่าการปฏิบัติ เราไม่เคยถอดบทเรียนกันมาก่อน จะมีก็มาระยะหลังนี้เอง งาน CSR ใช้ทฤษฎีนำอย่างเดียวคงไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของการประยุกต์ใช้ ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง

เริ่มตั้งแต่ตัวผู้นำองค์กร ตราบใดที่เบอร์หนึ่งขององค์กรไม่เข้าใจความหมายของงาน CSR ที่แท้จริงและถึงจะทำเพราะกระแสสังคม กฎเกณฑ์ กฎระเบียบทางสังคม กระแสความกดดันจากผู้บริโภค โดยไม่อยู่บนความสำนึกและถือความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรก็ยากที่จะทำให้งาน CSR ขององค์กรนั้นๆ เดินไปด้วยดี

นอกจากนี้ยังขึ้นกับปัจจัยอื่นๆ เช่น พื้นที่ ผู้คน หรือ ISSUE ที่จะทำนอกจากผู้นำองค์กรจะเข้าใจ คณะกรรมการบริษัท คนทำงานในองค์กร ไม่ว่าประชาสัมพันธ์คนทำงานด้านบุคลากร บัญชี การเงิน จัดซื้อ คนทั้งองค์กรจะต้องมีความเข้าใจ และเป็นสำนึกในฐานะอะไรก็แล้วแต่จะเป็นผู้อำนวยการ ผู้จัดการ หัวหน้า คนขับรถ แม่บ้านเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้านทุกคนก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคม

งาน CSR จึงเป็นงานที่ต้องมองเป็นองค์รวมเป็นเรื่องของการปลูกฝังสร้างจิตสำนึกกับคนทั้งองค์กร จึงจะจีรังยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเชื่อว่าจะด้วยแรงกดดันทางสังคมโลก สังคมไทยเมืองไทยเรามีต้นทุนทางสังคมที่ดี เรามีหัวเชื้อของคุณงามความดี การช่วยเหลือเผื่อแผ่ ความรู้จักเมตตา สงสาร ทำอย่างไรที่องค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ของเมืองไทยจะตระหนักและสำนึกในเรื่องนี้ เพราะตราบใดที่คุณทำธุรกิจมุ่งแสวงหากำไร ประสบความสำเร็จในเรื่องของยอดขาย มีทรัพย์สินเงินทองมากมาย แต่ถ้าสังคมอยู่ไม่ได้แล้วคุณจะไปขายของให้ใคร ถ้าสิ่งแวดล้อมเสียหาย สังคมไม่สงบสุข มีแต่ความวุ่นวายแล้วคุณจะค้าขายแบบยั่งยืนได้อย่างไร

ผู้เขียนเห็นด้วยอย่างยิ่งที่เกิดมีหน่วยงานกลาง สถาบันการศึกษาหลายแห่งให้ความสนใจและเข้ามาขับเคลื่อนเรื่องนี้ แต่อยากฝากว่า ผู้ประกอบการรายเล็ก รายกลางในเมืองไทยที่มีจำนวนเป็นแสนๆ รายนั้น เราจะช่วยต่อยอดถ่ายทอดความคิด องค์ความรู้และการนำไปใช้ได้อย่างไร องค์กรขนาดใหญ่ในเมืองไทย จำนวน 100 กว่ารายอาจจะเรียนรู้ แสวงหาองค์ความรู้ ช่วยตัวเองได้

ผู้เขียนเห็นว่าหลักไมล์ของการทำงาน CSR ในเมืองไทยวันนี้เราต้องแปรเปลี่ยนจากแนวคิดทฤษฎีมาเป็นหลักสูตรที่นำไปปฏิบัติได้ มีกรอบแนวทางการทำงานของการคิดงาน CSR ตั้งแต่ต้นจนจบอย่างมีระบบ มีเครื่องมือตรวจ ติดตาม วัดผลได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ยากเกินไปเพราะเราเพียงประยุกต์หลักการบริหารจัดการทางธุรกิจซึ่งมีมากมายมาใช้ให้เหมาะสมกับการบริหารจัดการกิจกรรมและโครงการทางสังคม

และควรมีการสร้างโมเดลงาน CSR ในหลายรูปแบบหลายมิติเพื่อให้องค์กรธุรกิจขนาดกลางและเล็กนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ สังคม ชุมชนที่องค์กรนั้นๆ ตั้งอยู่

ผู้เขียนได้แต่หวังว่าสักวันหนึ่งบรรดา องค์กรท้องถิ่นอย่าง อบต. หรือ อบจ. ในแต่ละจังหวัด แต่ละภูมิภาค ผู้ประกอบการธุรกิจ องค์การทางสังคมต่างๆ จะช่วยกันสร้างสรรค์กิจกรรม โครงการ CSR ดีๆ ที่ช่วยแก้ปัญหาหรือพัฒนาสังคม ชุมชน รวมทั้งองค์กรในท้องถิ่นกับส่วนกลางจะทำงาน CSR อย่างเป็นกระบวนการ

และเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันเป็นมิติใหม่ของงาน CSR ในเมืองไทย