วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2551

แนะกินไม่ไห้ไตพัง จากข่าวสด

แนะเลี่ยงอาหารเนื้อไขมันมากไม่ให้ไตพัง
ศูนย์โรคไต โรงพยาบาลวิภาวดี จัดบรรยายพิเศษ "กินอย่างไร ไม่ให้ไตพัง" โดยน.พ.อุปถัมภ์ ศุภศิลป์ กล่าวว่า เมื่อเกิดโรคไตเรื้อรัง ไม่ว่าจะเป็นจากสาเหตุใดๆ ก็ตาม จะเกิดการทำลายเนื้อไตอย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน เหมือนกับตัวกรองที่เริ่มมีการอุดตัน ทำ ให้กรองของเสียออกได้ไม่หมด ถ้ามีของเสียเป็นจำ นวนมาก ตัวกรองจะตันเร็วขึ้นเราจะช่วยไตไม่ให้ทำ งานหนักเกินไปได้ ด้วยการรับประทานอาหารให้ถูกต้องอย่างเพียงพอ จะช่วยชะลอการเสื่อมของไตได้หัวใจของการเลือกรับประทานอาหารในโรคไตเรื้อรัง คือ ลดโปรตีนจากอาหาร หรือลดการกินเนื้อสัตว์ ไม่กินอาหารที่มีรสเค็ม เลี่ยงไขมันจากสัตว์และกะทิ ควบคุมน้ำหนักตัว กินอาหารให้ครบห้าหมู่ ผู้ป่วยควรกินอาหารโปรตีนต่ำ ตั้งแต่มีไตเรื้อรังระยะแรกๆ โดยจำกัดให้ได้รับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ประมาณ 1 ช้อนครึ่ง กินข้าวต่อน้ำหนักตัว 10 กิโลกรัมต่อวัน เช่น ถ้าน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม จะกินเนื้อสัตว์ได้เพียง 7-8 ช้อนกินข้าวตลอดทั้งวัน
เนื้อสัตว์ที่ควรหลีกเลี่ยง คือ เนื้อสัตว์ที่มีไขมันมาก ไข่แดง เครื่องในสัตว์ หนังหมู หนังไก่ หมูสามชั้น ปลาหมึก หอยนางรม เนื้อสัตว์ที่มีคุณค่าทางอาหารต่ำ ทำให้ไตต้องทำงานหนักโดยเปล่าประโยชน์เพื่อขับของเสียออกมา เช่น เอ็นหมู เอ็นวัว ข้อไก่ คากิ หูฉลาม ตีนเป็ด ตีนไก่ เนื้อสัตว์ที่กินทั้งเปลือกหรือกระดูก เช่น ตั๊กแตน จิ้งหรีด กบ หรือเขียด ปลา กรอบ กุ้งแห้ง อาหารหมู่ข้าวและแป้ง ผู้ที่ถูกจำกัดโปรตีนควรได้รับมื้อละ 2-3 ทัพพีเล็ก หรือข้าวเหนียวนึ่งครึ่งทัพพี (หรือ 4 คำ) ถ้าชอบขนมปังขาว 2-3 แผ่น ถ้าไม่อิ่มให้เลือกทานแป้งมีโปรตีนต่ำทดแทน ได้แก่ วุ้นเส้นถั่วเขียว แป้งมัน แป้งข้าวโพด และสาคู" ในงานนี้ พลอยกาญจน์ โพธิพิมพานนท์ ทายาทเบนซ์ทองหล่อ และพิธีกรรายการชีวิตชีวาเดลี่ ทางช่อง 3 สาธิตเมนูอาหารถนอมไต "พล่าเห็ด" ให้ได้ชิมกันสดๆ พร้อมเทคนิคเล็กน้อยสำหรับผู้ป่วยไต ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มและรสจัด เพราะความเค็มทำให้กระหายน้ำ และการดื่มน้ำมากทำให้ผู้ป่วยโรคไตเกิดความดันโลหิตสูง นำมาสู่การเกิดหัวใจวายหรือบวมน้ำได้ หรือหากจำเป็นต้องปรุงจริงๆ ความเค็มที่พอเหมาะ ปริมาณเทียบเท่ากับเกลือประมาณ 1 ช้อนชาต่อวัน หรือ น้ำปลา 3 ช้อนชา ต่อวัน ไม่ควรเติมซอส หรือน้ำปลาพริกระหว่างกินอาหาร

ไม่มีความคิดเห็น: