วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ธุรกิจต้องช่วยสังคม (Creative Capitalism) จาก มติชน

ธุรกิจต้องช่วยสังคม (Creative Capitalism)โดย สมเกียรติ พงษ์กันทามีข่าวดีว่า เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2551 ที่ผ่านมา ที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้ลงมติตั้งกองทุน 16,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อช่วยประชาคมโลกโดยเฉพาะกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาและที่กำลังพัฒนา ในการต่อสู้กับโรคต่างๆ ที่ป้องกันได้ ในงานการศึกษา การสาธารณสุข และความมั่นคงด้านโภชนาการ และได้ตั้งเป้าหมายไว้ให้บรรลุผลเจ็ดปีข้างหน้า ใน พ.ศ.2558และในขณะเดียวกัน ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยโดยสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ก็ได้รณรงค์ให้องค์กรธุรกิจต่างๆ ได้เข้าใจในบทบาทของตนในความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้นความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม (Corporate Social Responsibility, CSR หรือที่บางท่านให้ชื่อว่าบรรษัทอภิบาลนั้น หมายความถึงการดำเนินกิจกรรมขององค์กรธุรกิจที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม ซึ่งมีหลายรูปแบบต่างกันตามความเหมาะสมของธุรกิจ โดยมีหลักการที่ไม่เอาเปรียบหรือเบียดเบียนประชาชนผู้บริโภค รู้จักแบ่งปันผลประโยชน์ เกื้อกูลประชากรในภาพรวมของสังคมธุรกิจของระบบทุนนิยม มีหลายรูปแบบสำหรับการทำกำไรอย่างเดียวให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือที่เรียกกันว่า ทุนนิยมดิบ (Raw Capitalism) นั้น ถือว่าขาดความชอบธรรม และเฮนรี่ พอลสัน รัฐมนตรีการคลังของสหรัฐอเมริกาบอกว่าหมดสมัยแล้ว (Raw Capitalism is a dead end-Henry Paulson, US Treasury Secretary)ทุนนิยมแบบการตลาดอิสระ (Free Marketing Capitalism) ที่ปราศจากการควบคุมดังเช่นปฏิบัติอยู่ในสหรัฐในปัจจุบันนั้น เป็นอันตรายอย่างยิ่ง เช่นกรณีหนี้สินล้นพ้นตัวที่เกิดขึ้นกับบริษัทเงินทุน วาณิชธนกิจ รวมทั้งแหล่งทุนให้กู้สำหรับอสังหาริมทรัพย์ใหญ่ๆ เช่น เลห์แมน บราเดอร์ส (Lehman Brothers) เป็นต้นวิกฤตความล้มเหลวของตลาดการเงินระบบทุนนิยมแบบการตลาดอิสระของสหรัฐนี้ได้ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจไปทั่วทุกมุมโลก เพราะผู้บริหารองค์กรเหล่านั้นขาดความเข้าใจและความรับผิดชอบต่อประชาคมทั้งสองกลุ่มคือ กลุ่มภายใน ได้แก่ ลูกจ้าง พนักงาน ผู้บริหาร และผู้ถือหุ้นของบริษัท และกลุ่มภายนอก ได้แก่ ลูกค้า คู่ค้า คู่แข่งขัน ชุมชนรอบข้าง และประชาคมโลกที่ได้รับผลกระทบเมื่อ 38 ปีมาแล้ว ใน พ.ศ.2513 ตัวแทนผู้บริโภค ราล์ฟ เนดเดอร์ (Ralph Nader, a consumer advocate) ได้สนับสนุนให้มีตัวแทนประชาชนผู้บริโภคและผู้ถือหุ้นรายย่อยเข้าไปนั่งในคณะกรรมการของบริษัทผลิตรถยนต์จีเอ็ม (General Motors, GM) ของสหรัฐ และพยายามผลักดันให้บริษัทตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบประชาสังคม (a committee on corporate responsibility)เป็นสาเหตุให้มิลตัน ฟริดแมน (Milton Friedman) ปรมาจารย์ทางเศรษฐศาสตร์เจ้าของรางวัลโนเบลท่านหนึ่งออกมาโต้แย้งว่าความรับผิดชอบของวาณิชธุรกรรมคือการหาเงินแก่องค์กรและเพิ่มกำไรแก่ผู้ถือหุ้นเท่านั้น (The social responsibility of business is to increase its profits)การโต้แย้งนี้ทำให้ผู้บริหารองค์กรทั้งหลายนำมาเป็นข้ออ้างเข้าข้างตนเองในการทำกำไรให้มากที่สุดในการประชุมทางเศรษฐกิจของโลกที่เมืองดาโวส สวิตเซอร์แลนด์ (Davos, Switzerland) เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา บิล เกตต์ (Bill Gates) ได้กล่าวถึงนวัตกรรมใหม่ของทุนนิยมที่เขาเรียกว่า ทุนนิยมแบบสร้างสรรค์ (Creative Capitalism) ที่ให้องค์กรธุรกิจเข้าไปมีส่วนในการช่วยสังคมและประชาคมโลกกลุ่มด้อยโอกาส (To help those who were left behind)เขาเห็นว่าความรับผิดชอบของเราในสังคมนี้มีสองส่วน คือ ส่วนของตัวเองและส่วนที่เห็นแก่ผู้อื่น ส่วนที่เห็นแก่ตัวเองนั้นควรรับภาระเองถ้าสามารถจ่ายได้ แต่ผู้ด้อยโอกาสที่ไม่สามารถจ่ายได้นั้นน่าจะเป็นภาระของรัฐและภาคธุรกิจและการกุศลโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่ด้อยพัฒนาทั้งหลาย และเขาได้ทำเป็นตัวอย่างโดยการบริจาคตั้งกองทุน (Bill and Melinda Gates Foundation) และบริหารโครงการการกุศลเหล่านั้นเป็นจำนวนหลายพันล้านเหรียญ ในปีที่ผ่านมากองทุนนี้ได้บริจาคเงินมากกว่า 100 ล้านเหรียญเพื่อช่วยต้านเอดส์ วัณโรค และมาลาเรีย (Global Fund to Fight AIDS, Tuberculosis and Malaria)กองทุนนี้ได้ช่วยจ่ายยาที่จำเป็นแก่ประชาชนกว่า 80,000 คนในหลายประเทศและได้ช่วยให้คนกว่า 1.6 ล้านคนได้รับการตรวจหาเชื้อเอชไอวี (HIV tests)หนึ่งในกองทุนเหล่านั้นได้มอบให้สโมสรโรตารี่ จำนวน 100 ล้านเหรียญ เพื่อช่วยขจัดโปลิโอให้ขาดหายไปจากโลก (Rotary"s Polio Eradication Project)หากดูลึกลงไปแล้วจะเห็นว่าระบบทุนนิยมแบบสร้างสรรค์นี้ไม่ใช่ของใหม่แต่ได้เกิดมานานแล้วต่อเนื่องตั้งแต่เมื่อ 209 ปีมาแล้ว ตัวอย่างเช่นใน พ.ศ.2342 โรเบิร์ต โอเวน (Robert Owen) เจ้าของโรงงานปั่นด้ายในสกอตแลนด์ได้ปฏิรูปสังคมอุตสาหกรรมโดยตั้งกองทุนสำหรับคนงานที่เจ็บป่วยและเลิกใช้แรงงานเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 10 ขวบ เมื่อถูกประท้วงจากผู้ถือหุ้น เขาได้หาผู้ถือหุ้นใหม่และประกันผลกำไรไว้ที่ร้อยละ 5 ที่เขาเห็นว่ามากพอสมควรและที่เหลือจากนั้น ยกให้เป็นงบฯสวัสดิการของคนงานพ.ศ.2432 มีนายทุนชื่อ แอนดรูว์ คาร์เนกี้ (Andrew Carnegie) เห็นว่าคนมีเงินน่าจะต้องช่วยคนจน (trustee for the poor) ได้สร้างห้องสมุด 2,509 แห่ง และบริจาคร้อยละ 90 ของทรัพย์สินที่มีอยู่ให้การกุศลพ.ศ.2457 เฮนรี่ ฟอร์ด (Henry Ford) ผู้ผลิตรถยนต์แห่งหนึ่ง ได้เปลี่ยนมาตรฐานการครองชีพของคนในโรงงาน จากคนงานมาเป็นลูกค้า โดยเพิ่มค่าแรงให้อีกเท่าตัว มาตรการนี้ได้รับการต่อต้านจากนายทุนทั่วสหรัฐ รวมทั้งนิตยสารนิวยอร์กไทม์ (New York Times) และวอลล์สตรีท (Wall Street Journal)พ.ศ.2503 เดวิด แพคการ์ด (David Packard) เจ้าของธุรกิจคอมพิวเตอร์รุ่นแรกของสหรัฐ ได้กล่าวในการสัมมนาของบริษัทว่า มีคนจำนวนมากได้ทึกทักเอาว่า การตั้งบริษัทขึ้นมานั้นเพื่อทำเงินและสร้างกำไร ก็มีส่วนจริงเพราะต้องทำให้บริษัทอยู่รอด แต่ถ้าวิเคราะห์ให้ลึกลงไปแล้วจะเห็นว่า เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังนั้นคือหลายคนร่วมกันตั้งธุรกิจขึ้นเป็นกิจการร่วมกัน เพราะเขาไม่สามารถที่จะทำคนเดียวได้ และการกระทำนั้นถือเป็นการช่วยสังคมส่วนรวมด้วยพ.ศ.2505 เดวิด ร็อกกี้เฟลเลอร์ (David Rockefeller) ประธานธนาคารเชสแมนฮัตตัน (Chase Manhattan Bank)ให้ความเห็นว่า ในอดีตเจ้าของกิจการมีสิทธิเต็มที่ในการใช้ทรัพย์สินทำเงินสร้างกำไรและผลประโยชน์ตามต้องการ แต่ปัจจุบันนี้สังคมได้วิวัฒนาการมาถึงจุดที่ผูกพันกันทำให้ต้องรับภาระของสังคมมากขึ้น ผู้บริหารบริษัทหรือกิจการต้องรับผิดชอบต่อทั้งคนงาน พนักงานองค์กร และประชาชนผู้บริโภคทั่วไปอีกด้วยพ.ศ.2526 บริษัทบัตรเครดิตอเมริกันเอ็กซ์เพรส (American Express, AMEX) ได้เริ่มนโยบายการตลาดแบบมีส่วนร่วมการกุศล (Cause Related Marketing) เพื่อเชิญชวนชักจูงให้ผู้บริโภคและลูกค้าซื้อของที่มีส่วนร่วมในการกุศลด้วย เช่น การหาทุนปฏิสังขรณ์อนุสาวรีย์แห่งสันติภาพ (The Statue of Liberty Restoration Project) ที่ประสบผลสำเร็จด้วยดียังมีหลายตัวอย่างดีๆ เช่น มีบริษัททำขนมและของหวานในอังกฤษร่วมลงทุนกับเกษตรกรชาวกานาปลูกโกโก้เพื่อทำช็อกโกแลต บริษัทผลิตเม็ดกาแฟของสหรัฐ เช่น สตาร์บัคส์ (Starbucks) และพีทส์ (Peet"s) ลงทุนจำนวนมากและให้ความช่วยเหลือเกษตรกรหลายประเทศในแอฟริกาในการปลูกและผลิตเม็ดกาแฟบริษัทเคมีสุมิโตโม (Sumitomo Chemical) ลงทุนในบริษัทเอทูซีเทกซ์ไทล์มิลส์ ของแทนซาเนีย (Tanzania"s A to Z Textile Mills) เพื่อผลิตมุ้งกันแมลงตั้งเป้าไว้ปีละ 10 ล้านชิ้นบริษัทรองเท้าทอมส์ (Toms) ที่เมืองซานตามอนิกา (Santa Monica based) รัฐแคลิฟอร์เนีย โฆษณาว่าถ้าท่านซื้อรองเท้าหนึ่งคู่ทางบริษัทจะบริจาคหนึ่งคู่แก่เด็กด้อยโอกาสกรณีเหล่านี้น่าจะถือเป็นตัวอย่างที่ดี สำหรับธุรกิจในประเทศไทยได้บ้าง

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณครับสำหรับบทความ