วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2550

สำนวนจีนจากมติชน

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10634

chegyu de laiyuan ji qi tedian ที่มาและลักษณะพิเศษของสำนวนจีน


คอลัมน์ เรียนไทยได้จีน

โดย ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนสิรินธร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง



Chengyu shi Hanyu zhong yizhong xiyong le de guding cizu huo duanju,

เฉิงยฺหวี่ ฉื้อ ฮั่นยฺหวี่ จง อี้ จ่ง สีย่ง เลอะ เตอะ กู้ติ้ง ฉือจู่ ฮั่ว ตฺว่านจฺวี้

สำนวนเป็นกลุ่มคำ หรือวลีชนิดหนึ่ง ที่มักใช้กันในภาษาจีน



daduo shi you sige zi goucheng de.

ต้าตัว ฉื้อ โหยว ซื่อเกอะ จื้อ โก้วเฉิง เตอะ

ส่วนใหญ่ประกอบขึ้นด้วยตัวอักษร 4 ตัว

สำนวนจีนมีที่มาจากประวัติศาสตร์ นิทานแฝงข้อคิด เช่น



ke zhou qiu jian

เค่อ โจว ฉิว เจี้ยน

ยึดมั่นกฎเกณฑ์คร่ำครึไม่เปลี่ยนแปลง

สำนวนนี้เล่ากันว่า มีที่มาจากชายคนหนึ่งทำดาบหล่นลงน้ำขณะนั่งเรือข้ามแม่น้ำ เขารีบทำเครื่องหมายไว้บนกราบเรือตรงจุดที่ดาบหล่น พอเรือหยุด เขาจึงลงไปหาดาบใต้น้ำ ณ จุดตรงกับที่เครื่องหมายที่เขาสลักไว้บนกราบเรือ แต่ที่สุดเขาก็หาดาบไม่พบ

บางสำนวนดัดแปลงมาจากโคลงกลอนโบราณที่มีชื่อเสียง และมีไม่น้อยที่มาจากสุภาษิต คำพังเพย ซึ่งไม่ได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น



hutou shewei

หู่ โถว เฉอ เหว่ย์

ม้าตีนต้น

แม้ว่าสำนวนจีนมักจะมาจากเรื่องราวที่บันทึกไว้ในสมัยโบราณ แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกสำนวนเป็นสำนวนที่คนโบราณคิด หรือแต่งขึ้น มีการสร้างสำนวนใหม่ๆ ออกมาตลอดเวลา และมีหลายสำนวนที่คนปัจจุบันคิดขึ้น

โครงสร้างสำนวนจีนบางครั้งจะเป็นลักษณะนำคำสองคำมาประกอบกัน เช่น



langtun huyan

หลางถุน หู่เยี่ยน

ตะกละตะกลาม



jin xiao shen wei

จิ๋น เสี่ยว เฉิ้น เวย์

คิดเล็กคิดน้อย

สำนวนข้างต้นเป็นการนำคำที่มีความหมายคล้ายกันมาประกอบกันให้เกิดเป็นสำนวน นอกจากนี้ ยังมีการนำคำตรงข้ามมาประกอบกันเป็นสำนวน เช่น



yan gao shou di

เหยี่ยน เกา โฉ่ว ตี

ตาสูงแต่ไร้ฝีมือ

หรือ



qu chang bu duan

ฉฺวี่ ฉาง ปู่ ตฺว้าน

บั่นยาวต่อสั้น

นอกจากนั้น ยังนำตัวเลขมาประกอบในสำนวน เช่น



san xin er yi

ซาน ซิน เอ้อร์ อี้

สองจิตสองใจ

หรือ



luan qi ba zao

ลฺว่าน ชี ปา เจา

ยุ่งเหยิงวุ่นวาย

บางครั้งมีการซ้ำคำในสำนวนเพื่อเพิ่มน้ำหนักให้คำ เช่น



ren lao ren yuan

เริ่น หลาว เริ่น เยฺวี่ยน

ทรหดอดทน

หรือ



huan de huan shi

ฮฺว่าน เต๋อ ฮว่าน ฌือ

พะวงผลประโยชน์ส่วนตัว

สำนวนจีนบางสำนวน ก็มีโครงสร้างเหมือนวลี หรือประโยคทั่วไป เช่น ประกอบด้วย ประธาน กริยา กรรม เช่น



yugong yi shan

ยฺวี่กง อี๋ ฌาน

ลุงโง่ย้ายภูเขา

หรือ



huangran da wu

ห่วง หราน ต้า อู้

นึกได้ทันที

ส่วนใหญ่แล้วสำนวนจีนมักเป็นวลีที่ตายตัว ไม่สามารถย้ายตำแหน่ง หรือสลับตำแหน่งของคำได้ แต่ก็ไม่ได้เป็นเช่นนี้ทั้งหมดทีเดียว ถ้ามีความจำเป็นต้องสลับคำให้เหมาะกับสถานการณ์ก็ย่อมทำได้ เช่น



shi ban gong bei / shi bei gong ban

ฉื้อ ป้าน กง เป้ย์ / ฉื้อ เป้ย์ กง ป้าน

ได้ผลคุ้มค่า / ได้ผลไม่คุ้มค่า

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จะนำไปทำเป็นข้อมูลอ้างอิงในการทำรายงานค่ะ
ขอบคุณมากๆ