วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2551

คุณธรรม ความชอบธรรมในการปกครอง จากมติชน 05 กย.51

คุณธรรม ความชอบธรรมในการปกครอง และอำนาจอธิปไตยของประชาชนโดย ทินพันธุ์ นาคะตะ
ประชาธิปไตย เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน เพราะมีหลักการ วิธีการ และวัตถุประสงค์ในการปกครองที่ผูกพันไว้กับประชาชนส่วนใหญ่เสมอองค์ประกอบทั้งสามนี้จะขาดอย่างหนึ่งอย่างใดไปไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกระทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของการได้ชื่อว่า ระบอบการปกครองที่ดี ที่เราแสวงหากันมากว่าสองพันปีประการแรก การปกครองแบบนี้ถือหลักการว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ผู้ใช้อำนาจออกกฎหมายผ่านสภานิติบัญญัติ ใช้อำนาจบริหารผ่านคณะรัฐมนตรี และใช้อำนาจตุลาการผ่านทางศาล ทั้งนี้ เพราะเรายึดมั่นในเสรีภาพ ความเสมอภาค และความสำคัญของบุคคล เป็นที่ตั้งประการที่สอง เป็นเรื่องของวิธีการ ที่มีข้อกำหนดต่างๆ ให้เกิดการใช้อำนาจอธิปไตยโดยประชาชนขึ้นมา เช่น มีรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งโดยเสรี กติกาในการปกครองที่ถือเสียงข้างมากในการตัดสิน คุ้มครองสิทธิของเสียงข้างน้อย รวมทั้งมีพรรคฝ่ายค้าน เป็นต้น ในกรณีนี้รัฐธรรมนูญกับการเลือกตั้งจึงเป็นเพียงเงื่อนไขที่จำเป็น แต่ไม่เป็นเงื่อนไขที่เพียงพอของประชาธิปไตย เพราะเผด็จการคอมมิวนิสต์ก็มีสองอย่างนี้ประเทศเรามักคิดกันว่าการมีสองอย่างดังกล่าวก็เป็นประชาธิปไตยขึ้นมาแล้ว แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ เพราะประชาธิปไตยจะต้องเป็นมากกว่ากลไกทางการเมือง หากต้องครอบคลุมไปถึงประชาธิปไตยของสังคมหรือในวิถีชีวิต ที่ก่อให้เกิดความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ อย่างในประเทศแถบแองโกลอเมริกันหรือแถบสแกนดิเนเวีย ซึ่งต้องอาศัยการพัฒนาของตัวแปรประมาณ 20 ตัวด้วยกันประการที่สาม จะต้องยึดมั่นในผลประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งสำคัญที่สุด มากกว่าหลักการและวิธีการข้างต้น หากไม่ยึดมั่นในผลประโยชน์ส่วนรวมแล้วก็ไม่รู้ว่าจะมีการปกครองเพื่ออะไร เราแสวงหาระบอบการปกครองที่ดีเพื่อส่วนรวมมาแล้วกว่าสองพันปี ผู้มีอำนาจจึงต้องเสียสละ เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมในทุกกิจกรรม ทุกนาทีจึงจะได้ชื่อว่ามีคุณธรรมในการปกครองในทุกระบบการเมืองจะมีการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการปกครอง แต่การยึดถือกฎหมายอย่างเดียวย่อมไม่อาจทำให้ผู้ปกครองอยู่ในอำนาจต่อไปได้ ถ้าขาดความชอบธรรมในการปกครองขึ้นมาความชอบธรรมในการปกครองเป็นเรื่องของความเชื่อ เกี่ยวกับข้ออ้างในสิทธิของผู้มีอำนาจ และการยอมรับในข้ออ้างนั้นของฝ่ายรับการปกครอง เมื่อใดก็ตามที่ฝ่ายหลังไม่ยอมรับ ผู้มีอำนาจจะขาดความชอบธรรมในการปกครองทันที และอยู่ในอำนาจต่อไปไม่ได้ถ้าประชาชนเชื่อว่า นโยบาย การตัดสินใจ การกระทำของรัฐบาลไม่ถูกต้อง รัฐบาลก็อยู่ไม่ได้ข้อสังเกตก็คือ สังคมของเรา ผู้คนมักเข้าข้างตัวเอง เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว เช่น มีการพูดกันว่าองค์กรอิสระต่างๆ ตั้งขึ้นมาโดยไม่ชอบธรรม เพราะมาจาก คมช. โดยไม่พูดว่าตนเองได้เป็นรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาก็ไม่มีความชอบธรรมเช่นเดียวกัน เพราะมาจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 จาก คมช.ด้วยอนึ่ง ในสังคมประชาธิปไตยนั้น นอกจากจะมีสถาบันทางการเมืองที่เป็นทางการอย่างสภานิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ และองค์กรอิสระต่างๆ แล้ว ก็ยังมีสถาบันทางการเมืองที่ไม่เป็นทางการอย่างพรรคการเมือง องค์กรพัฒนาเอกชน การเมืองภาคประชาชน รวมทั้งสื่อมวลชน ซึ่งมีบทบาทสำคัญมากๆ ในการช่วยพัฒนาประชาธิปไตยด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจสอบควบคุมรัฐบาลที่สำคัญก็คือ ประชาธิปไตย ต่างสัญญาประชาคม ของ จัง จ๊าค รุสโซ ที่เป็นต้นแบบประชาธิปไตยของสังคมสมัยใหม่นั้น ยึดถือหลักอำนาจอธิปไตยของประชาชนโดยเคร่งครัด เขากล่าวว่า อำนาจดังกล่าวเป็นอำนาจสูงสุด เป็นขององค์อธิปัตย์ คือประชาชน เป็นอำนาจเด็ดขาด ละเมิดมิได้ สละให้ใครไม่ได้ ทำลายไม่ได้ จำกัดไม่ได้ มอบให้ใครไม่ได้ เพราะเขาถือหลักประชาธิปไตยโดยตรง (direct democracy) ประชาชนใช้อำนาจนั้นโดยตรง ไม่มีผู้แทน เขากล่าวว่า อำนาจนิติบัญญัติเป็นอำนาจสูงสุด เป็นของประชาชนโดยตรง เหนือกว่าฝ่ายบริหาร ซึ่งเป็นเพียงผู้รับมอบอำนาจส่วนฝ่ายตุลาการเป็นหน้าที่หนึ่งของฝ่ายบริหาร ฝ่ายบริหารถูกยกเลิกได้ตามความพอใจของประชาชน เมื่อประชาชนมาประชุมกันเป็นองค์อธิปัตย์ อำนาจของฝ่ายบริหารต้องยุติลง กฎหมายที่ประชาชนไม่รับรองถือเป็นโมฆะ"เมื่อใดประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยตัวจริงมาปรากฏตัว อำนาจฝ่ายบริหารผู้เป็นฝ่ายได้รับมอบอำนาจมาจะต้องยุติลง และสัญญาประชาคมนั้นย่อมถูกยกเลิกและเปลี่ยนแปลงได้เสมอ"

ไม่มีความคิดเห็น: