วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
วันวิสาขะ จากมติชน
"วิสาขบูชา" วันสำคัญทางพุทธศาสนา กับโอกาสในการสร้างคุณความดีโดย กฤษณา พันธุ์มวานิช สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรมวันวิสาขบูชาตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 คำว่า "วิสาขะ" แปลว่า เดือน 6 ซึ่งทางจันทรคติเรียกว่า วิสาขมาส คำว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจากคำว่า วิสาขบูรณมีบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 ถ้าหากปีใดมีเดือนอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน วันวิสาขบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7ทางราชการถือว่าวันวิสาขบูชาเป็น "วันพระพุทธ" เพราะเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และวันปรินิพพาน ในวันเดียวกันประเพณีวันวิสาขบูชาในประเทศไทยเริ่มกระทำมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ดังตำนาน "อันพระนครสุโขทัยราชธานี ถึงวันวิสาขบูชานักขัตฤกษ์ครั้งใดก็สว่างไสวไปด้วยแสงประทีป เทียนดอกไม้เพลิง" ในครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาไม่ปรากฏหลักฐาน ส่วนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 ได้ทรงฟื้นฟูพิธีวันวิสาขบูชาให้เป็นแบบแผนขึ้นและกระทำสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันดังกล่าวข้างต้นว่าวันวิสาขบูชาเป็นวันที่เกิดเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ-วันที่พระองค์ทรงประสูติเมื่อวันศุกร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ณ สวนลุมพินีวัน ประเทศเนปาล-พระองค์ทรงตรัสรู้เมื่อวันพุธขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ณ อุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย-พระองค์ทรงปรินิพพานเมื่อวันอังคารขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง เมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา ณ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ ประเทศอินเดียดังนั้น พุทธศาสนิกชนจึงสมควรจะมีการประกอบพิธีพุทธบูชา เพื่อน้อมรำลึกถึงพระพุทธคุรอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธองค์การกำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของโลก เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2543 นายดอน ปรมัตต์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงต่อสื่อมวลชนว่า ตามที่มีการประชุม International Buddhist Confernce ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา ระหว่างวันที่ 9-14 พฤศจิกายน 2541 ซึ่งมีผู้แทนจากประเทศที่นับถือศาสนาพุทธจำนวนมากเข้าร่วม อาทิ บังกลาเทศ จีน ลาว เกาหลีใต้ เวียดนาม ภูฏาน อินโดนีเซีย เนปาล กัมพูชา อินเดีย ปากีสถาน และไทย ได้ตกลงที่จะเสนอให้สมัชชาสหประชาชาติรับรองข้อมติที่จะประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดของสหประชาชาติต่อมาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2542 ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 54 ได้พิจารณาว่า เนื่องจากวันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของพุทธศาสนิกชนทั่วโลกเพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ทรงตรัสรู้ เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้มวลมนุษย์มีเมตตาธรรม และขันติธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพื่อให้เกิดสันติสุขในสังคม อันเป็นแนวทางสหประชาชาติที่ประชุมจึงให้การรับรองโดยฉันทามติว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ และที่ทำการสมัชชาจะจัดให้มีการระลึกถึง (Observance) ตามความเหมาะสมดังที่กล่าวแล้วข้างต้นว่าวันวิสาขบูชามีความสำคัญสหรับพุทธศาสนิกชนทั่วโลก และด้วยเหตุที่ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ศาสนูปถัมภกพระพุทธศาสนา ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ ความศรัทธาเลื่อมใสก็มีอยู่ทั่วกัน และทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ซึ่งเป็นแนวทางของสหประชาชาตินั้นพุทธศาสนิกชนจึงได้จัดให้มีการประกอบพิธีวิสาขบูชาขึ้นในวันนี้เนื่องจากถือว่าวันนี้มีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธองค์อย่างน่าอัศจรรย์ คือ เป็นวันที่ตรงกับวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน โดยยึดหลักความกตัญญู อริยสัจ 4 และความไม่ประมาท ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ควรปฏิบัติในวันวิสาขบูชาความกตัญญู คือ ความรู้อุปการคุณที่มีผู้ทำไว้ก่อนเป็นคุณธรรมคู่ความกตเวที คือ ตอบแทนอุปการคุณที่ผู้อื่นทำไว้นั้น ผู้ที่มีอุปการคุณก่อนเรียกว่า "บุพพการี" ขอยกมากล่าวในที่นี้คือ บิดา มารดา และครูอาจารย์ คุณธรรมในข้อนี้สามารถนำไปใช้ได้แม้ระหว่างพระมหากษัตริย์กับพสกนิกร นายจ้างกับลูกจ้างเพื่อนกับเพื่อน และบุคคลทั่วไป รวมทั้งมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมอริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ หมายถึง ความจริงที่ไม่ผันแปร ที่เกิดได้กับทุกคนซึ่งมี 4 ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิต ทุกข์ที่เกิดจากการไม่ได้ตามใจปรารถนา รวมทั้งทุกข์ที่เกี่ยวกับดำเนินชีวิตด้านต่างๆสมุทัย คือ เหตุแห่งปัญญานั้น คือ ตัณหา อันได้แก่ ความอยากได้ต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วยความยึดมั่นนิโรธ คือ การแก้ปัญหาได้ ทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิตทั้งหมดนั้นแก้ไขได้ดดยการดับตัณหา คือ ความยากให้หมดสิ้นมรรค คือ ทางหรือวิธีการแก้ปัญหาด้วยการแก้ไขตามมรรคมีองค์ 8ความไม่ประมาท คือ การมีสติขณะพูดและขณะคิด คือ การระลึกรู้ทันที่คิด พูดและทำ ในภาคปฏิบัติเพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน หมายถึง การระลึกถึงรู้ทันการเคลื่อนไหวอิริยาบถ 4 คือ เดิน ยืน นั่ง นอน การฝึกให้มีสติทำได้โดยตั้งสติกำหนดการเคลื่อนไหวอิริยาบถกล่าวคือ ระลึกรู้ทันทั้งในขณะยืน เดิน นั่ง และนอน รวมทั้งระลึกรู้กันในขณะพูด ขณะคิดและขณะทำงานต่างๆการจัดพิธีวันวิสาขบูชาของชาวพุทธในปัจจุบันก็คือ มีการเวียนเทียนและสดับพระธรรม การตั้งโต๊ะหมู่บูชา ตกแต่งดอกไม้ตามมุมของพระอุโบสถอย่างสวยงามตามพุทธประวัติ ปางประสูติ ปางตรัสรู้ ปางปฐมเทศนา และปางเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานรวม 4 มุม เพื่อแสดงออกถึงความเคารพสักการะต่อองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยการบูชา 2 ประเภท คือ การบูชาด้วยวัตถุสิ่งของ ดอกไม้ ธูปเทียน อย่างหนึ่ง ปฏิบัติบูชา คือ การบูชาด้วยการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่ง การบูชาทั้ง 2 ประการนี้ พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญปฏิบัติบูชาเพราะว่าการบูชาด้วยการประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนย่อมมีประโยชน์มากคือ ทำให้ศาสนาของพระองค์เจริญรุ่งเรืองมาตราบเท่าทุกวันนี้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
1 ความคิดเห็น:
ขอบคุณมากค่ะ สำหรับบทความดีๆที่นำมาแบ่งปันให้กัน
แสดงความคิดเห็น