วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551

กฎอิทัปปัจจยตา (ตัดจากมติชน)

กฎอิทัปปัจจยตาเป็นกฎธรรมชาติที่บรรยายว่าปรากฏการณ์ทุกอย่างในจักรวาลดำเนินไปอย่างมีเหตุปัจจัยพึงเข้าใจว่า กฎอิทัปปัจจยตาไม่ใช่กฎที่แสดงความมีเหตุผล (Reasonable) หรือความสมเหตุสมผลในทางตรรกวิทยา แต่เป็นกฎที่แสดงให้เห็นความเป็นสาเหตุและผล (Casusality) ของปรากฏการณ์ทุกอย่างว่า "เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ" แต่การมี การเกิด หรือการคับของสิ่งหรือเหตุการณ์ต่างๆ นั้น จะสมเหตุสมผลในทางตรรกวิทยาหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง และสภาพความเป็นสาเหตุและผลตามกฎอิทัปปัจจยตาก็ไม่ได้มีลักษณะที่เป็นระเบียบเรียบง่ายเหมือน 1+1=2 หากแต่มีความซับซ้อนค่อนไปทางสภาวะไร้ระเบียบ (chaos) มากกว่าเช่น หากมองผ่านหลักการประชาธิปไตยที่ว่า "อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน" จะพบว่าผลของการเลือกตั้งที่เพิ่งผ่านไปดูจะไม่สอดคล้องอย่างสมเหตุสมผลกับหลักการดังกล่าวเสียทีเดียว เพราะพรรคที่ชนะการเลือกตั้งชนะด้วยการสร้างกระแสนิยมโดยชูแนวทางที่จะแก้ปัญหาของตัวบุคคลมากกว่าเสนอนโยบายพัฒนาประเทศที่เป็นรูปธรรม
***ความเปราะบางของเสถียรภาพรัฐบาลไม่ได้อยู่ที่การเป็นรัฐบาลผสมหลายพรรคเท่านั้น ต่อให้เป็นรัฐบาลพรรคเดียวและมีเสียงมากเพียงใดก็ล้มได้ถ้าขาดความชอบธรรม แต่การมีความชอบธรรมต้องมองอย่างองค์รวม ดังที่อาจารย์เสกสรรค์เสนอว่า 1) ที่มาต้องชอบธรรม 2) ต้องมีจุดหมายที่ชอบธรรม และ 3) วิธีการใช้อำนาจต้องชอบธรรมด้วยไม่ใช่มีที่มาชอบธรรมแล้วทำอะไรก็ได้!

ไม่มีความคิดเห็น: